ขับซ่าสรุปให้!! เจ้าของรถEV ขับรถ EV ช่วงสงกรานต์ จอดชาร์จที่ไหน…ประหยัดค่าไฟได้มากที่สุด ?


ใกล้จะถึงวันสงกรานต์ หรือช่วงเทศกาลที่ไร เชื่อว่า…หลายๆ ท่านในที่นี้ คงจะวางแผนการท่องเที่ยว หรือเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงเวลาที่มีวันหยุดให้พักผ่อนได้ยาวๆ แบบนี้เป็นแน่ โดยแต่ละท่านนั้น ก็จะมีพาหนะคู่ใจในรูปแบบที่แตกต่างกันไป และด้วยความนิยมรถ EV ที่สูงขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ ที่บางท่านอาจจะเลือกเดินทางด้วยรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งอาจจะต้องวางแผนการชาร์จกันอย่างรอบคอบกว่าในช่วงเวลาปกติ เนื่องจากมีผู้ร่วมเดินทางเป็นจำนวนมาก โดยในวันนี้ #ทีมขับซ่า มีอีกหนึ่งเรื่องน่าสนใจสำหรับคนใช้รถ EV ในช่วงวันสงกรานต์ ไปดูกันเลยว่า ช่วงวันหยุดยาวที่ (อาจจะ) ต้องเดินทางแบบนี้ เลือกจุดชาร์จไฟที่ไหน…สามารถเซฟค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้มากที่สุด 

สงกรานต์ทั้งที…ภาพแบบนี้มีให้เราเห็นจนชินตา

เดินทางไกลๆ ด้วยรถ EV การวางแผนหาจุดชาร์จ…สำคัญมาก

ค่าใช้จ่ายในการชาร์จรถ EV ผ่านสถานีชาร์จแบบ DC

ผู้ให้บริการ กำลังไฟสูงสุด (KW) ค่าใช้จ่ายต่อ 1 kW (บาท) ค่าใช้จ่ายต่อ 50 kW (บาท) หมายเหตุ
EV Station Pluz 160 4.5 (Off Peak)

7.5 (On Peak)

225

375

*ค่าจองคิว 20 บาท
PEA Volta 50 4.5 (Off Peak)

6.9 (On Peak)

225

345

EA Anywhere 150 7.7 385
Elexa 125 7.5 375
Sharge+ 180 8.5 425 ค่าจอง 5 บาท/ ชม.

เทศกาลสงกรานต์ เป็นช่วงเวลา Off-Peak ตลอดทั้ง 4 วัน ดังนั้นการเลือกจุดชาร์จที่คิดค่าใช้จ่ายแบบ TOU คือ ความคุ้มค่าที่แท้ทรู

งานนี้เพื่อให้เห็นภาพและใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด #ทีมขับซ่า จึงขอแบ่งประเภทของการชาร์จรถ EV เป็น 2 รูปแบบ เริ่มที่การชาร์จแบบ Quick Charge ด้วยไฟ DC ซึ่งเป็นวิธีการที่นักเดินทางส่วนใหญ่เลือกใช้ ในที่นี้…แต่ละค่ายจะมีค่าใช้จ่าย รวมถึงรูปแบบในการคิดราคาต่อ 1 kW ที่แตกต่างกันออกไป โดยมีเพียง 2 ค่าย คือ EV Station Pluz และ PEA Volta ที่ใช้วิธีการคิดแบบ Time of Use (TOU) ตามแต่ละช่วงเวลา ในอัตราค่าใช้จ่ายเริ่มต้นเพียง 4.5 บาท / KW ซึ่งหากต้องการชาร์จไฟ 50 kW จะมีค่าใช้จ่ายในการชาร์จอยู่ที่ 225 บาท โดยหากต้องการจองคิวในการชาร์จสำหรับ EV Station Pluz จะมีค่าใช้จ่ายในการจองเพิ่มเติมอีก 20 บาท ส่วนผู้ให้บริการที่คิดค่าใช้จ่ายต่อ 1 KW สูงที่สุด คือ Sharge+ โดยหากต้องการชาร์จไฟในปริมาณ 50 kW พร้อมจองคิวช่องจอด 1 ชั่วโมง จะมีค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 430 บาท

 

ค่าใช้จ่ายในการชาร์จรถ EV ผ่านสถานีชาร์จแบบ AC

ผู้ให้บริการ กำลังไฟสูงสุด (KW) ค่าใช้จ่ายต่อ 1 kW (บาท) ค่าใช้จ่ายต่อ 50 kW (บาท) หมายเหตุ
EV Station Pluz 43 4.5 (Off Peak)

7.5 (On Peak)

225

375

ค่าจองคิว 20 บาท
PEA Volta 43 4.5 (Off Peak)

6.9 (On Peak)

225

345

EA Anywhere 22 80 / 1 ชั่วโมง

150 / 2 ชั่วโมง

220 / 3 ชั่วโมง

320 / 4 ชั่วโมง

320 + 80 สำหรับรถที่รองรับกำลังไฟ 11 kW
Elexa 22 7.5 375
Sharge+ 22 8.5 425 ค่าจอง 5 บาท/ ชม.
On-Ion 22 60 / ชั่วโมง 300 สำหรับรถที่รองรับกำลังไฟ 11 kW
EVolt 22 8-10 400-500

ถ้าเป็นรถที่รองรับการชาร์จแบบปกติได้เร็วในระดับ 22 kW การเลือกชาร์จแบบเหมาจ่ายชั่วโมงละ 60 บาท ถือว่าคุ้มราคาที่สุด

การชาร์จ DC หรือ Quick Charge อาจสะดวกต่อการเดินทาง แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนอาจไม่ได้ต้องการจะไปเสียเวลาหรืออยากจะไปแย่งจุดชาร์จกับเพื่อนร่วมทางที่ใช้รถ EV เหมือนๆ กัน โดยบางท่านต้องการจะไปเที่ยวพักผ่อนในระยะที่รถของตัวเองอาจจะเดินทางไปถึง แล้วเสียบชาร์จกันเบบยาวๆ ข้ามคืน การชาร์จแบบ Normal Charge อาจจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกกว่า โดยเฉพาะในสถานที่มีจุดชาร์จสาธารณะเหล่านี้ไว้บริการ เช่น โรงแรม หรือห้างสรรพสินค้า ซึ่งหากเลือกใช้กับรถ EV ทั่วๆ ไป ที่รองรับกำลังในการชาร์จไม่เกิน 6.6 – 7.4 kW ดูจะเป็นฝั่ง EV Station Pluz และ PEA Volta ในช่วงเวลา Off Peak ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดเช่นเดิม (เพราะจะชาร์จช้าหรือเร็ว ก็คิดค่าใช้จ่ายตามปริมาณไฟที่ได้รับ) แต่สำหรับรถที่รับกำลังไฟได้ในระดับสูงๆ เช่น MG ES ที่รับไฟ AC Charge ได้สูงสุดที่ 11 kW หรือบรรดารถสมรรถนะสูง ที่รองรับกำลังไฟได้ถึง 22 kW แล้ว การชาร์จโดยเหมาจ่ายเป็นช่วงเวลา เช่น On-Ion ที่ 60 บาท/ชั่วโมง (ถ้ารถที่รับไฟสูงสุด 11 kW จะใช้เวลาชาร์จ 50 kW จาก 0-100% ในเวลาประมาณ 4.5 ชั่วโมง ซึ่งก็คือ เหมาจ่าย 5 ชั่วโมง 300 บาท แต่หากรับไฟได้ 22 kW และต้องการชาร์จให้ได้ 50 kW จะใช้เวลาต่ำกว่า 3 ชั่วโมง หรือเหมาจ่ายเพียง 180 บาท เท่านั้น ในทำนองเดียวกัน ถ้านำรถคันเดิมไปชาร์จที่ EA Anywhere ที่คิดค่าไฟในอัตราเหมาจ่าย ค่าใช้จ่ายต่อ 3 ชั่วโมง จะอยู่ที่ 220 บาท)

 

ค่าใช้จ่ายในการชาร์จรถ EV แบบ AC ณ ที่พักอาศัย

ผู้ให้บริการ กำลังไฟสูงสุด (KW) ค่าใช้จ่ายต่อ 1 kW (บาท) ค่าใช้จ่ายต่อ 50 kW (บาท) หมายเหตุ
ที่พักอาศัย (ปกติ) 7-22 เฉลี่ย 4.5 225 *กำลังการจ่ายขึ้นอยู่กับระบบไฟ
ที่พักอาศัย (TOU) 7-22 2.6 (Off Peak)

5.7 (On Peak)

130

285

*กำลังการจ่ายขึ้นอยู่กับระบบไฟ

ชาร์จที่ไหน…ก็ไม่สุขใจเท่าชาร์จบ้านเรา คำนี้ยังคงใช้ได้สำหรับผู้ใช้รถ EV เสมอ

ในท้ายที่สุดแล้ว อย่าลืมว่า…การใช้เวลาพักผ่อนในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ในระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ (รวมถึงวันอาทิตย์ที่ 16 เมษายนนี้ ด้วย) อัตราค่าไฟบ้านจะถูกคิดในช่วงเวลา Off Peak ทั้งสิ้น (สำหรับบ้านที่เลือกใช้มิเตอร์แบบ TOU) ซึ่งก็เท่ากับว่า หากคุณไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องชาร์จไฟนอกบ้าน การเลือกชาร์จไฟ ณ ที่พักอาศัย จะยังคงเป็นทางเลือกแรกในดวงใจ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับสารบบการชาร์จทั้งหมดที่มีในประเทศ (หากไม่นับการไปขอชาร์จไฟฟรี ณ ที่ใดที่หนึ่ง) โดยหากต้องการชาร์จไฟในช่วงวันดังกล่าว ค่าใช้จ่ายในการชาร์จต่อ 50 kW จะอยู่ที่เพียง 130 บาท เท่านั้น หรือหากเป็นที่อยู่อาศัยปกติ ที่ไม่ได้ทำเรื่องขอมิเตอร์ TOU ค่าใช้จ่ายต่อการชาร์จในปริมาณไฟที่เท่ากัน จะอยู่ที่ประมาณ 225 บาท ซึ่งก็ยังเป็นค่าใช้จ่ายที่ต่ำในระดับต้นๆ สำหรับการชาร์จรถ EV ในช่วงสงกรานต์ แบบที่ไม่ต้องมานั่งพะวงเรื่องช่วงเวลาในการชาร์จอีกด้วย


Related posts

Ferrari 12 Cilindri ม้าศึกพันธุ์แรง เทอร์โบไม่ใช้ ไฮบริดไม่สน เพราะเลือกซนกับของแรงในรูปแบบ V12

BMW ประกาศ…หยุดใช้อักษร i กับรถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป ป้องกันความสับสนกับรถในกลุ่ม BEV

Honda Prelude 2025 อาจมาพร้อมขุมพลัง Hybrid 207 แรงม้า พร้อมประกาศตัวเป็นคู่ฟัด GR86

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา เรียนรู้เพิ่มเติม