“คนพรรค์ไหน รถไฟฟ้าไทยต้องการ”???”


 ขณะนี้ผู้ประกอบการที่ป้อนชิ้นส่วน อุปกรณ์ แบบ OEM. ทั่วโลกต่างก็ปรับตัวกันยกใหญ่ เพื่อให้สามารถรองรับ อยู่รอดได้ในโลก EV ยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหลายที่ทะยอยเข้ามาเรื่อยๆ มันคือคลื่นถาถม Disruptions ที่เกิดทั่วโลกและบ้านเรา(ในอนาคต) ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตระดับ Tier 1, Tier 2 ….ไล่ไปเรื่อยๆจนถึงลูกกระจ๊อก !!  

 ประเด็นสำคัญคือไม่ใช่ที่ผู้ประกอบการรายดั้งเดิมเหล่านี้เจะต้องปรับตัว แข่งขันกันเฉพาะใน วงรายเดิมๆ ที่จัดว่าเคยครองอาณาจักร เป็นเจ้าใหญ่ในตลาดอีกต่อไป แต่จะต้องเจอคู่แข่ง ผู้ประกอบการหน้าใหม่ คนรุ่นหลัง พวกสตาร์ทอัพที่อาจจะไม่เคยอยู่ในธุรกิจนี้มาก่อนเลย คือเป็นได้ทั้ง Startups และ Nonautomotive playersโดยเฉพาะด้านซอฟท์แวร์ เฟิร์มแวร์ โมดูลควบคุมการทำงาน ฯลฯ ของ EV ในยุคนั้น 

 พวกรายใหม่ๆเหล่านี้นอกจากจะเข้ามาตอดกินตลาดบางส่วนของ OEM ที่ผู้ประกอบดั้งเดิมเห็นว่าไม่คุ้ม ไม่มีความถนัดแล้ว ในทางคู่ขนานกันจะมีพวก OEM ระดับโลกเข้ามาถือหุ้น ขาย/ถ่ายทอดเทคโนโลยี ร่วมเป็นพันธะมิตรทางธุรกิจกับ Startups และ Nonautomotive players  เหล่านี้ คือก้าวไปด้วยกัน เพราะได้เปรียบตรงมี Brand ความเชื่อถือ และเทคโนโลยีสูงส่งกว่า ยกตัวอย่าง  Robert Bosch GmbH,  Denso Corp , Continental AG , Delphi Automotive PLC , TRW Automotive Holdings Corp. Mitsubishi Electric Corp ดยเฉพาะด้านความปลอดภัยของ EV รวมทั้ง Autonomous EV เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ซิ้อรถเหล่านั้นมาใช้ว่าจะไม่พากูวิ่งเฟอะฟะ หลงเซิ้ง หรือเกิดไฟลุกไหม้ได้ง่ายๆ .. 

  เป็นความจริงที่เราทราบกันอยู่ว่า EV เหล่านี้นับวันจะมีตัวกำเนิดพลัง ระบบขับเคลื่อน ชิ้นส่วนน้อยลง และก็เป็นความจริงอีกเช่นกันที่ความซับซ้อนในการซ่อมดูแลมันกลับมากขึ้นตามเช่นกัน มีความเสี่ยงเกี่ยวข้องมากกว่า ต้นทุนแพงกว่า ตรงนี้ว่ากันทั้งยวงตั้งแต่ Powertrain, Drivetrain และ Mechanical parts ต่างๆ 

 สิ่งที่เกิดขึ้นกับ วงการ EVนี้ได้มาเกิดอย่างรวดเร็วที่จีน ซึ่งคาดว่าจะก้าวเป็นผู้นำตลาดโลกก่อนปี 2030 อย่างแน่นอน รัฐบาลจีนฉลาดพอที่จะทุ่มงบด้านเทคโนโลยี พัฒนาบุคคลากร ซื้อองค์ความรู้ ลักจำทำนองก็อปปี้ มายังประเทศตนซึ่งมีพร้อมทั้งฝั่งอุปสงค์อุปทานจำนวนมากพอ ที่จะไม่ต้องพึ่งการนำเข้าส่งออกใดๆ

 อานิสงค์จะทะลักยักถ่ายมายังญี่ปุ่น เกาหลีใต้(ซึ่งได้เกิดขึ้นแล้วกับแบตเตอรี่ มอเตอร์ ระบบขับเคลื่อน) แล้วก็จะถูกผ่องถ่ายมายังย่านอาเซี่ยนตามลำดับ ดังนี้ค่อยๆเกิดโรงงาน แผนงาน ผลิตบางชิ้นส่วนเหล่านี้แถว EEC ทั้งนี้ไทยเราน่าจะกอบเก็บได้เป็นกำ (หรือเป็น กรรมถ้าโดนเวียดนามคาบไปรับทานร่วมด้วย 

 มองภาพรวมแบบ Thailand Outlook ทำให้เห็นถึงความต้องการด้านบุคคลากร ฝีมือว่าบ้านเราจะมีความพร้อมระดับไหนเมื่อถึงวันนั้น และคำว่าฝีมือในวันนั้นต้องเป็นประเภท รู้กว้าง กว่าที่เราใช้กันอยู่ในการผลิตรถสันดาปภายใน ไม่ใช่แค่ระดับ Skilled engineerแต่เราต้องผลิต Multiskilled engineerให้ได้ ต้องก้าวพ้นจากปัจจุบันที่แม้จะสามารถบูรณาการทั้งเครื่องกล ไฟฟ้า และเคมีเข้าด้วยกันเท่านั้น เพราะวงการ EV  ต้องการระดับสมองชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์เข้าด้วยกัน (STEM : Science, Technology, Engineering, Mathematics) !! 

หมายเหตุ : เท่าที่ได้ไปดูผลงานของทีมอาจารย์/นักศึกษาด้านวงการ EV ตามนิทรรศการณ์ สถาบันอย่าง ม/เกษตร, ส. เทคโนโลยี รวมทั้งมีการสนับสนุนจากองค์กรระดับชาติอย่าง EGAT, ปตท. ได้มีความพร้อมที่น่าสนับสนุนต่อมากทีเดียว ซึ่ง ปล้อนจะนำมาเสนอเป็นระยะๆคร๊าบ….

………………………………………………………

ติดตามข่าวสารขับซ่าได้  ที่นี่
ชมรายการขับซ่า34 ย้อนหลังได้  ที่นี่


Related posts

CATL เปิดตัวแบตเตอรี่ LFP สำหรับรถ EV รุ่นล่าสุด โว…ชาร์จ 10 นาที วิ่งได้ไกล 600 กม. !!!

เอ็มจี เผยโฉมรถต้นแบบล่าสุด MG EXE181 ต่อสาธารณชนครั้งแรกที่งานปักกิ่ง ออโต้โชว์ 2024

ปอร์เช่เฉลิมฉลอง “50 ปีแห่งขุมพลังเทอร์โบ” ในงาน Retro Classics “ที่สุดแห่งสมรรถนะ – 50 ปี ปอร์เช่ เทอร์โบ”

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา เรียนรู้เพิ่มเติม