ICE มีแววได้ไปต่อ ! หลังเยอรมนี ผลักดันให้ยุโรปใช้เครื่องยนต์สันดาปได้ต่อไปหลังพ้นปี 2035


ในช่วงเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปประกาศข้อบังคับให้ เลิกทำตลาด สำหรับรถใหม่ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปในปี 2035 เป็นต้นไป สำหรับประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งนี่อาจหมายความถึงการสูญสิ้นของวงการเครื่องยนต์สันดาปในอนาคต แต่นั่นอาจไม่ใช่คำตอบสำหรับทั้งหมด เนื่องจากปัญหามลพิษหลักๆ อาจไม่ได้เกิดจากเครื่องยนต์เท่านั้น การที่จะยุติการผลิตไป อาจทำให้อุตสาหกรรมอื่นๆ ถึงกับต้องชะงักตามไปด้วย ดังนั้นการหาทางออกที่มีความเป็นไปได้แบบไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ จึงเป็นแนวทางที่น่าสนใจ เพื่อที่จะให้อุตสาหกรรมยานยนต์เดินหน้าต่อแบบไม่ก่อให้เกิดผลกระทบมากนัก

จากข้อกำหนดดังกล่าว มีข้อยกเว้นเพียงสำหรับผู้ผลิตที่ผลิตรถได้ต่ำกว่า 1,000 คัน ต่อปี นั่นจึงเป็นเรื่องที่สร้างความไม่พอใจให้กับหลายๆ ประเทศในยุโรป จนทำให้เกิดกระแสการคัดค้านจากทั้ง สาธารณรัฐเช็ก, สโลวาเกีย, อิตาลี, โปแลนด์, โรมาเนีย, ฮังการี รวมถึง เยอรมนี ประเทศที่เป็นแหล่งใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์โลก (ถึงกับหยุดงานเพื่อประท้วง) ทำให้ต้องหารือกันอีกครั้ง เพื่อประณีประนอมข้อบังคับดังกล่าวอีกครั้ง จนกระทั้งล่าสุดทาง Reuters ได้นำเสนอได้นำเสนอข้อสรุปจากการประชุมเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยประเด็นไฮไลท์ อยู่ที่ “โอกาสการได้ไปต่อของเครื่องยนต์สันดาปในยุโรป หลังจากปี 2035”

สำหรับการประชุมดังกล่าวมีขึ้นที่ สำนักงานใหญ่คณะกรรมาธิการยุโรป ในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม จากเดิมที่สหภาพยุโรปบังคับให้เลิกจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป หลังจากปี 2035 เพื่อลดปัญหาด้านมลพิษ ทำให้ทางฝั่งเยอรมนี (รวมถึงอิตาลี) ซึ่งเป็นประเทศหลักในอุตสาหรรมยานยนต์เกิดความไม่พอใจ จนอาจนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคต ซึ่งที่ผ่านมา ทางเยอรมนีได้คัดค้านโดยนำเสนอแนวทางเพื่อหาข้อยุติร่วมกันในหลายๆ สัปดาห์ โดยแนวทางที่มีการนำเสนอ คือ ให้ยกเว้นสำหรับรถที่ใช้เชื้อเพลิงในรูปแบบ e-Fuels หรือ เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งมีข้อดี คือ เมื่อเชื้อเพลิงชนิดนี้ถูกเผาไหม้ จะมีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไชด์ไม่ให้ออกสู่วิ่งแวดล้อม โดยจะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนในรูปแบบของ H2O ออกมาแทนที่

Porsche จับมือ Siemens Energy สร้างโรงงานผลิต e-Fuel ในชิลี

ด้วยข้อเสนอดังกล่าวของทางฝั่งเยอรมนี ซึ่งนำมาสู่การยอมรับของหลายๆ ประเทศในสหภาพยุโรป จึงประกาศมีการกำหนดให้จัดหมวดหมู่เพิ่มเติมสำหรับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปที่ใช้ e-Fuels หรือ เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (ซึ่งทางผู้ผลิต จะต้องมั่นใจว่า รถยนต์ดังกล่าว จะไม่สามารถใช้กับเชื้อเพลิงเบ็นซิน หรือดีเซล ในรูปแบบปกติได้) โดยหากเป็นไปตามแผน คงต้องมาดูกันว่า ในช่วงเวลาอีก 1 ทศวรรศที่เหลือ การจะนำเชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน มาใช้ในลักษณะแมสโปรดักส์ มีความเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหน

ในปัจจุบัน e-Fuels หรือ เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน ยังไม่สามารถผลิตเชื้อเพลิงในรูปแบบ e-Fuels ได้ในปริมาณมาก โดยระหว่างอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา หรือทดลองใช้เฉพาะในบางวงการ เช่น มอเตอร์สปอร์ต เท่านั้น ณ ปัจจุบัน Porsche กำลังลงทุนเพื่อการพัฒนาเชื้อเพลิงชนิดนี้ โดยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 34,342 แกลอน ต่อปี (ประมาณ 1.56 แสนลิตร) ซึ่งในอนาคต บริษัทคาดการณ์ว่าจะสามารถผลิตได้ถึง 145 ล้านแกลอน ต่อปี (ประมาณ 659 ล้านลิตร) แต่นั้นยังถือเป็นบริมาณที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับความต้องการในการใช้ทั่วโลก


Related posts

Honda โชว์หัวลากพลัง Hydrogen Fuel Cell กำลัง 320 แรงม้า และลากได้ระยะกว่า 640 กม. ต่อการเติม 1 ครั้ง

สยบข่าวมั่ว ! Suzuki ยกเลิกทำตลาดรถยนต์ในไทย ย้ำ…แนะนำรถรุ่นใหม่ต่อเนื่อง ลุ้นทำตลาด EV SUV ในปี 2568

แปลกได้โล่ห์ ! ชม BMW XM เจ้าของฉายา Mystique Allure ตัวเด่นในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา เรียนรู้เพิ่มเติม