ทำไม อีลอน มัสก์ จึงบังอาจกล่าวว่า “ ฟิวเซลล์ “ เป็นพลังงานที่โง่เง่ามาก ควรจะเปลี่ยนชื่อเป็นพลังหน้าโง่มากกว่า..

Electric car charging station for home, Transport which are the future of the automobile


Mirai เป็นรถเซลล์เชื้อเพลิงที่ TOYOTA ส่งมาทำตลาดรถพลังงานทางเลือกแข่งกับ EV

 

Fuel Cell คืออะไร!?! ทำไม ‘อีลอน มัสก์’ ซีอีโอ TESLA จึงบังอาจกล่าวว่า “ฟิวเซลล์ (Fuel Cell) เป็นพลังงานที่โง่เง่ามาก ควรจะเปลี่ยนชื่อเป็นพลังหน้าโง่มากกว่า (Fool Cell)”

เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) หรือ ‘ฟิวเซลล์’ คือเทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า ด้วยกรรมวิธี “เปลี่ยนพลังงานเคมีไปเป็นพลังงานไฟฟ้า” เซลล์เชื้อเพลิงใช้ปฏิกิริยาทาง ไฟฟ้า-เคมี ปราศจากกลไกหรือชิ้นส่วนเคลื่อนไหว เกิดความร้อนต่ำ เมื่อเทียบกับการใช้ ‘เจเนอเรเตอร์’ เพื่อปั่นไฟซึ่งจะ “เปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า” และสิ่งที่หลงเหลือจากการทำปฏิกิริยาดังกล่าว จะมีเพียง ‘น้ำ’ เท่านั้น

เซลล์เชื้อเพลิงเป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีหลายรูปแบบ โดยในแต่ละรูปแบบจะตอบสนองการใช้งานที่แตกต่างกันไป ไล่เรียงตั้งแต่ ยานอวกาศ, รถ, รถโดยสารสาธารณะ รวมทั้งอุปกรณ์พกพาทั้งหลาย สำหรับเซลล์เชื้อเพลิงรูปแบบที่นำมาใช้กับรถ ได้แก่ ‘PEMFC’ (Proton Exchange Membrane Fuel Cell) เซลล์เชื้อเพลิงได้ถูกพัฒนาให้เป็นแหล่งผลิตพลังงานหลักให้กับรถ และพลังงานที่ได้จากขั้นตอนนี้จะเป็นพลังงานสะอาดที่เกิดจาก การรวมตัวของก๊าซไฮโดรเจน (H2) และก๊าซออกซิเจน (O2) ผ่านทางปฏิกิริยาเคมี และผลลัพธ์ที่ได้ คือ พลังงานไฟฟ้า (และน้ำ) ตามสมการ

H2 (Hydrogen) + O2 (Oxygen) = Electricity & H2O

รถเซลล์เชื้อเพลิงถูกขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งใช้ไฟที่ผลิตจาก ‘แผงเซลล์เชื้อเพลิง’ (Fuel Cell Stack) เป็นหลัก โดยไฟฟ้าเกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยาทางเคมีระหว่าง ‘ไฮโดรเจน’ กับ ‘ออกซิเจน’ ภายในแผงเซลล์เชื้อเพลิง สำหรับเชื้อเพลิงอย่างไฮโดรเจนที่นำมาใช้นั้น เป็นการนำไฮโดรเจนจากถังเก็บส่งให้กับ Fuel Cell Stack โดยตรง ขณะที่ออกซิเจนถูกนำมาจากอากาศที่ไหลผ่านมาทางด้านหน้ารถนั่นเอง

เหตุที่ไฮโดรเจนได้รับความสนใจ เพราะเป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากทุกสิ่งอย่างรอบตัว อาทิ พลังงานชีวมวล, ก๊าซธรรมชาติ, การแยกออกมาจากน้ำบริสุทธิ์, พลังงานลม, พลังงานแสงอาทิตย์ ฯลฯ ไฮโดรเจนจึงเป็นเชื้อเพลิงสะอาด มีมากมายมหาศาล และไม่มีวันหมด

และเหตุที่ นายอีลอน มัสก์ วิพากษ์วิจารณ์ให้เปลี่ยนจาก “Fuel Cell ไปเป็น Fool Cell” ก็น่าจะมาจากไฮโดรเจน ที่มีความยุ่งยากในการจัดเก็บ รถเซลล์เชื้อเพลิงแต่ละรุ่นต้องใช้ถังไฮโดรเจนจำนวนหลายถัง (สร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัย) อีกทั้งขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าจาก Fuel Cell Stack ก็ต้องมีแบตเตอรี่ทำหน้าที่สำรองพลังงานไม่แตกต่างจากรถไฟฟ้า (EV) จะฉลาดกว่ามั้ย…หากจะตัดขั้นตอนของเซลล์เชื้อเพลิงทิ้งไป แล้วส่งไฟจากแบตไปขับเคลื่อนมอเตอร์แบบตรงๆ กันไปเลย

TOYOTA Mirai ใช้ถังไฮโดรเจน 2 ถัง ถังด้านหน้า (ใต้เบาะหลัง) จุ 60.0 ลิตร ส่วนด้านหลังจุ 62.4 ลิตร จัดวางในตำแหน่งที่ได้รับการปกป้องสูงสุด

มีจุดด้อย ก็ต้องมีจุดเด่น ไม่เช่นนั้นค่ายยักษ์ใหญ่ อาทิ HONDA, Mercedes-Benz, BMW, AUDI และ TOYOTA ฯลฯ คงไม่ซุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงกันมาอย่างยาวนาน และข้อดีที่เหนือกว่ารถไฟฟ้าแบบเห็นๆ คือ เติมไฮโดรเจนเต็มถังใช้เวลาเพียง 3-5 นาที เท่านั้น!!!

ชุด Power Control Unit รับหน้าที่จัดการพลังงานให้ Mirai ส่วนล่างเป็นมอเตอร์ขนาด 113 kW (154 DIN hp) ให้แรงบิด 335 Nm


Related posts

เกีย เซลส์ (ประเทศไทย)” จัดงาน “Kia EV Playground” สนามเด็กเล่นแห่งแรกที่เกียชวนเด็กๆ มาเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานสะอาด พร้อมสัมผัส The Kia EV5 และ The Kia EV9

ผ้าเบรกเบ็นดิกซ์พาดีลเลอร์ เยือนสามอ่าวสเตเดียม ชมฟุตบอล ไทยลีก ลุ้นพีที ประจวบ เฉือนชนะสุโขทัย ได้สำเร็จ

วินฟาสต์ เดินหน้ารุกตลาดไทย พร้อมผลักดันความเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าของอาเซียน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา เรียนรู้เพิ่มเติม