Home » 3 เรื่องต้องรู้ ขับรถหน้าฝน

3 เรื่องต้องรู้ ขับรถหน้าฝน

by jaded
ขับรถ หน้าฝน

ขับรถ หน้าฝน

ช่วงนี้ฝนตก ขับรถ หน้าฝน พึงระวัง แต่รถยนต์ในปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะการขับขี่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมแบบก้าวกระโดด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มาจากพัฒนาการ ทางด้านอิเลคทรอนิกส์ ที่ถูกนำมาใช้ในรถยนต์เพิ่มมากขึ้น ECU เครื่องยนต์ที่ละเอียดและไวมากขึ้น ช่วยให้เครื่องยนต์ที่มีซีซี.น้อยๆ มีกำลังแรงม้าสูง การตอบสนองของพวงมาลัยและช่วงล่างแบบปรับอัตโนมัติ ทำให้ผู้ขับแค่กดปุ่มเลือกโหมด ก็สามารถปรับให้รถเป็นไปอย่างที่ต้องการได้

 

เหินน้ำ ขับรถหน้าฝน

“เหินน้ำ” อันตรายถึงชีวิต !!!

ระบบความปลอดภัยยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ระบบช่วยการทรงตัว ระบบป้องกันการลื่นไถล ทำให้รถกลับมาอยู่ในการควบคุมได้อย่างอัตโนมัติ แต่อาการที่เราจะพูดถึงในครั้งนี้…ไม่ว่ารถของคุณจะมีระบบพิเศษแค่ไหน ก็ยากที่จะแก้ได้ นั่นคือ อาการ “เหินน้ำ”

ถึงแม้รถยนต์จะพัฒนาไปล้ำหน้าขนาดไหน แต่่สิ่งเดียวที่ยึดตัวรถไว้กับพื้นถนนก็มีแค่ยางรถยนต์เท่านั้น และยางก็ยังมีอีกข้อจำกัดหนึ่งในการยึดเกาะถนนที่หลีกเลี่ยงได้ยาก นั่นก็คือ สภาพพื้นผิวถนน ปกติเมื่อเราขับรถบนถนน ยางต้องเผชิญพื้นผิวหลากหลายรูปแบบ ในพื้นผิวที่เปียกแฉะ ร่องยาง ที่อยู่ระหว่างดอกยาง มีหน้าที่ต้องรีดน้ำออกมากให้ได้มากที่สุด เพื่อให้หน้ายางสามารถสัมผัสพื้นถนนได้ ถึงจะทำให้รถเกาะถนนได้ดี 

 

รีดน้ำ ขับรถ หน้าฝน

บางคนถามว่า ทำไมรถแข่งขันระดับ F1 (Formula 1) ยังใช้ยางแบบไม่มีร่องดอกยางหรือที่เรียกยางสลิค (Slick) นั่นก็เพราะถ้ารถเลือกได้ว่าจะวิ่งเฉพาะถนนที่แห้งสนิทและเรียบเหมือนสนามแข่งขัน ดอกยางก็ไม่มีความจำเป็น เพราะยางสลิคจะให้พื้นที่หน้ายางสัมผัสกับถนนมากกว่า ยางที่มีดอกยาง รถจึงเกาะถนนกว่าใช้ยางแบบที่มีร่องดอกยาง แต่เมื่อฝนตกพื้นสนามแข่งเปียก รถแข่งทุกคันก็ต้องกลับเข้าพิท(Pit) มาสลับมายางแบบที่มีร่องรีดน้ำอยู่ดี

 

ถนนเปียก ขับรถ หน้าฝน

เหินน้ำ คืออะไร

แต่ในชีวิตจริง เราคงเข้าพิทเซอร์วิสสลับยางเมื่อฝนตกไม่ได้ สำหรับรถยนต์ใช้งานทั่วไป รูปแบบของดอกยางจึงมีความสำคัญมาก หากดอกยางและร่องรีดน้ำไม่ได้รับการออกแบบที่ดี หรือสึกหรอจนร่องตื้น ไม่อยู่ในสภาพที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เมื่อรถวิ่งผ่านในเส้นทางที่มีน้ำท่วงขังบนพื้นถนน หากมีแอ่งน้ำนั้น มีขนาดพื้นที่รวมตัวเต็มพื้นที่ของหน้ายาง (มากกว่าความกว้างของหน้ายาง) เมื่อรถวิ่งผ่านจะมีความรู้สึกเหมืองมีเบาะน้ำขนาดใหญ่รองใต้ล้อเอาไว้ จนเหมือนกับว่ารถลอยอยู่เหนือผืนน้ำ นั้นหมาความว่าคุณเจอเข้ากับอาการเหินน้ำ หรือ Hydroplaning เข้าแล้ว !!! หากมาด้วยความเร็วสูง หรืออยู่ในเส้นทางโค้ง มีโอกาสอย่างมากที่ผู้ขับขี่จะไม่สามารถบังคับทิศทางรถได้ จนเกิดกรณีรถแฉลบหรือหมุนขึ้นเกาะกลางถนนกว่า 50 ลิตร ต่อนาที / ที่ความเร็ว 100 กม./ชม.

 

เหินน้ำ รีดน้ำ ขับรถ หน้าฝน

หากเปรียบเทียบความสามารถของร่องดอกยางมาตรฐาน ในการรีดน้ำจากพื้นถนนที่น้ำเปียก เมื่อคุณขับรถที่ความเร็ว 100 กม./ชม. มันจะสามารถรีดน้ำออกจากหน้ายางได้เทียบเท่ากับน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มถังรถของคุณ ในเวลาไม่ถึง 2 นาที หรือกว่า กว่า 50 ลิตรต่อนาที (ซึ่งจะมากกว่านี้ ถ้าในเส้นทางน้ำท่วมขัง)

3 เรื่องต้องรู้ ขับรถ หน้าฝน

สำหรับการขับขี่รถยนต์ในฤดูฝนอย่างนี้ 3 เรื่องที่ให้พึงระลึกถึงเสมอคือ

  1. ความเร็ว ยิ่งคุณขับรถด้วยความเร็วเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ความสามารถในการควบคุมรถบนถนนเปียก จะลดลงมากขึ้นเป็นทวีคูณ
  2. ความลึกของน้ำ หากไม่คุ้นเคยเส้นทาง อย่าลุยน้ำด้วยความเร็ว ในเส้นทางโค้งแม้กระทั่งน้ำท่วมขังบางๆ ยังส่งผลต่อการควบคุมรถ แต่หากวิ่งผ่านน้ำที่มีความลึกมากเกินความสามารถรีดน้ำของร่องยาง จะทำให้รถเสียการควบคุม แม้ขณะที่ใช้ความเร็วต่ำ
  3. ความลึกของดอกยาง ยางที่ดอกยางสึกมาก จะทำให้ร่องยางตื้นลง ประสิทธิภาพในการรีดน้ำก็จะลดลงตามไปด้วย ผลโดยตรงต่อการสูญเสียการยึดเกาะถนน และการควบคุมบนถนนเปียก ซึ่งควรจะลดความเร็วลงด้วยความระมัดระวังต่อสภาพถนนรอบตัว

ดอกยางระดับไหน…ควรเปลี่ยน !!! 
 ความลึกของร่องดอกยางขั้นต่ำ ควรจะมีความลึกอย่างน้อย 1.6 มิลลิเมตร 
และหากดอกยางเหลือต่ำกว่า 2.0 มิลลิเมตร จะขาดประสิทธิภาพในการรีดน้ำและเกาะถนน เพราะฉะนั้นควรมั่นตรวจสอบสภาพของดอกยาง และแรงดันลมยางอย่างสม่ำเสมอ เพราะแรงดันลมยางที่สูงเกินก็มีผลกับการยึดเกาะถนน อาจก่อให้เกิดอาการเหินน้ำได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันหากต่ำกว่าสเปกโรงงานกำหนดมากๆ ก็จะมีผลต่อการเสียหายของโครงสร้างยาง ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง เพิ่มการตรวจเช็คเพียงเล็กน้อยแบบนี้ ก็จะทำให้คุณขับขี่รถยนต์ได้อย่างปลอดภัย ในทุกเส้นทาง

แนะนำ สลับยาง ทำอย่างไร

ฝากกด Subscribe และติดตาม ขับซ่า Channel จากทีมขับซ่า ด้วยนะครับ

 

ขอบคุณภาพ จากอินเตอร์เนท


ข่าวแนะนำ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา ยอมรับ เรียนรู้เพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy