Home » ไขข้อสงสัย !! สลับยาง…เพื่อยืดอายุการใช้งานของยางรถยนต์..มีหลักการเเละวิธีการทำอย่างไร ?

ไขข้อสงสัย !! สลับยาง…เพื่อยืดอายุการใช้งานของยางรถยนต์..มีหลักการเเละวิธีการทำอย่างไร ?

by jaded

คุณเคย สลับยาง หรือเปล่า?

เพราะผู้ใช้รถส่วนใหญ่เข้าใจว่า แค่คอยเช็ค เติมลมยางให้ได้ตามที่กำหนดเป็นอันจบ!!  แต่ความจริงแล้ว เราสามารถที่จะยืดอายุการใช้งาน รวมทั้งทำให้เราได้ใช้งานยางรถยนต์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น แบบง่ายๆ แค่รู้จัก สลับยาง เราพาคุณ รู้วิธี สลับยาง ทำอย่างไร

เพื่อตอบสนองความต้องการใช้รถยนต์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องพัฒนาแยกย่อย รุ่นและประเภทของรถยนต์ออกเป็นหลากหลายรูปแบบมากกว่าเดิม ข้อดีคือ..ผู้ใช้สามารถเลือกรถในแบบที่ตรงกับการใช้งาน หรือแบบที่ถูกใจได้มากที่สุด แต่ด้วยรูปแบบที่แตกต่าง ทำให้รถก็ต้องการ การดูแลท่ีแตกต่างกันด้วยเช่นกัน

 

ประเภทยางรถยนต์

ประเภทยาง รูปจาก https://www.lesschwab.com

 

ชิ้นส่วนหนึ่งที่ถือว่าสำคัญมาก สมควรได้รับการดูแลมันเป็นพิเศษด้วยซ้ำ แต่ส่วนใหญ่มักถูกมองข้ามไป นั่นคือยางรถยนต์ !!!

คุณสามารถหาข้อมูลได้ว่า ยางรถยนต์ของคุณควรทำการสลับ ทุกกี่กิโลเมตรจากคู่มือประจำรถของคุณ แต่หากไม่มีแจ้งไว้ คุณอาจทำการสลับทุกๆ 10,000 กิโลเมตรสำหรับรถทั่วไป และทุกๆ 5,000-8,000  กิโลเมตร สำหรับรถขับเคลื่อนสี่ล้อ ซึ่งรถขับสี่แต่ละประเภท เช่น Pickup , SUV, PPV แต่ละคันจะเป็นระบบช่วงล่างและขับเคลื่อนแบบ Part-time และ Full-Time ก็จะมีการสึกหรอที่แตกต่างกันออกไปอีก

 

สลับยาง ดอกยาง

 

เหตุที่ต้องมีการสลับยางรถยนต์นั้น ก็เพื่อให้การสึกหรอของดอกยางรถยนต์ ในส่วนของล้อด้านใน ด้านนอก รวมทั้งล้อหน้า และล้อด้านหลัง มีการสึกหรอที่เท่าหรือใกล้เคียงกัน

ยกตัวอย่าง ในรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า FWD (Front Wheel Drive) ซึ่งล้อคู่หน้า จะเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน ต้องรับภาระทั้ง ขับเคลื่อน ควบคุมทิศทางและการบังคับเลี้ยว โดยเฉพาะทุกครั้งที่เบรก น้ำหนักเครื่องยนต์,เกียร ์และระบบขับเคลื่อนที่รวมอยู่ข้างหน้าทั้งหมด บวกโมเมนตั้มของตัวรถเวลาเบรก ล้อคู่หน้าจึงรับภาระสูงมาก ดังนั้น..การสึกหรอของยางรถยนต์ในคู่หน้าจะมีมากกว่ายาง ์คู่หลังโดยเฉลี่ย 2-3 เท่าเลยทีเดียว

 

สลับาง ทำอย่างไร

 

แนะนำ the Garage อยากทำโรงรถ ให้เป็นมากกว่าที่จอดรถ 

สลับยาง ทำอย่างไร

ที่ระยะ 10,000 กิโลเมตร การสลับยางรถยนต์ที่ดี ควรทำการสลับยาง ทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร โดยในการสลับยางรถยนต์ครั้งแรก จะเป็นการสลับยาง ในลักษณะเปลี่ยนจากล้อหลัง มาไว้ล้อหน้า และเปลี่ยนจากล้อหน้า ไปไว้ล้อหลัง ในการสลับยางครั้งแรกนี้ จะเป็นการเปลี่ยนในฝั่งเดียวกัน คือ ซีกซ้ายหน้ากับหลังสลับกัน และซีกขวาหน้ากับหลังสลับกันเอง ซึ่งในการสลับแบบตรงนี้ สามารถนำล้ออะไหล่(หากเป็นล้อและยางขนาดเดียวกัน มาสลับใช้ได้ด้วย)

ที่สำคัญคือ ควรทำการถ่วงล้อทั้ง 4 ล้อ ทุกครั้งที่สลับยางด้วย และควรใช้โอกาสเดียวกันนี้ ให้ช่างช่วยตรวจเช็กสภาพของผ้าเบรก ตรวจสอบช็อคอับและลูกหมาก คันชักคันส่งพร้อมตรวจเช็กศูนย์ล้อ รวมถึงเรื่องของการตรวจเช็คจุดที่ต้องการหล่อลื่น ชิ้นส่วนยางหุ้มเพลา อัดจาระบีดุมล้อ และสภาพชิ้นส่วนต่าง ๆ ของระบบช่วงล่างในคราวเดียวกัน

รีวิวรถ กับทีมขับซ่า ติดตาม ขับซ่าChannel

ที่ระยะ 20,000 กิโลเมตร การสลับยางรถยนต์ครั้งนี้ จะไม่เหมือนที่สลับ ในช่วง 10,000 กิโลเมตรแรก ซึ่งวิธีการสลับยางในครั้งนี้ จะเป็นแบบไขว้ โดยจะทำการเปลี่ยนยางจากล้อหน้าขวาไปไว้ล้อหลังซ้าย และไขว้ยางล้อหลังซ้ายสลับแทนที่ยางล้อหน้าขวา ส่วนล้อหน้าซ้ายจะเปลี่ยนสลับกับล้อหลังขวา

ซึ่งการเปลี่ยนสลับยางครั้งนี้ มีจุดสำคัญที่ต้องสังเกต คือ ทิศของหน้ายางรถยนต์  (Rotation) หรือลูกศรบอกตำแหน่งของยางรถยนต์อยู่ในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ ในกรณีที่ยางรถยนต์ไม่มีลูกศรบอกทิศ แสดงว่ายางอาจเป็นแบบดอกยางไม่กำหนดบังคคับทิศทางหมุน แต่ก็สามารถแยกด้านนอกได้…โดยให้สังเกตหาที่วันผลิต ซึ่งจะบอกไว้ที่แก้มยางรถยนต์   ให้ด้านตัวเลขบอกวันผลิตของยางรถยนต์หันออกด้านนอกเสมอ นั่นคือ ด้านยางที่ถูกต้อง

ซึ่งเราเจ้าของรถควรตรวจสอบบในกรณีที่สลับยางรถยนต์แล้วลายดอกยางย้อนทางหัวลูกศรหรือทิศทางการหมุน ที่ดอกยากถูกออกแบบมา อันนี้ต้องให้ช่างประจำร้านยาง ทำการกลับด้านยางรถยนต์ให้ถูกต้อง เพราะมีผลโดยตรงกับการรีดน้ำของดอกยาง รวมถึงเรื่องการยึดเกาะถนนอีกด้วย

ที่ระยะ 30,000 กิโลเมตร ควรกลับมาใช้การสลับยางในลักษณะเปลี่ยนยางรถยนต์จากล้อหลังมาไว้ล้อหน้า และเปลี่ยนยางรถยนต์จากล้อหน้าไปไว้ล้อหลัง แบบซีกเดียวกัน เหมือการสลับยางในช่วง 10,000 กิโลเมตรแรก.. เหตุผลที่ต้องทำการสลับยางรถยนต์ในลักษณะเช่นนี้ เพื่อให้ยางรถยนต์ทั้ง 4 เส้นมีการสึกหรอที่ใกล้กัน เนื่องจากยางรถยนต์ทั้ง 4 เส้นจะมีการสลับครบทุกด้านพอดี

ที่ระยะ 40,000 กิโลเมตร ที่ระยะนี้ สำหรับคนที่ใช้รถน้อยๆ บางครั้งอาจจะใช้ยางชุดนี้มาเกิน 3 ปีแล้ว บางคนสงสัยว่าควรเปลี่ยนหรือยัง โดยปกติ ถ้าหากยางรถยนต์ได้รับการดูแลรักษาและใช้งานอย่างถูกต้อง ก็สามารถใช้งานได้จนกระทั่งดอกยางสึกหรอเหลือต่ำสุด(ประมาณ 1.6 มิลลิเมตร )  สังเกตง่ายๆได้จาก จุดสามเหลี่ยมเล็กๆ 6 จุดบนไหล่ยางแต่ละด้าน เมื่อเจอสัญลักษณ์นี้แล้ว ให้มองตรงขึ้นไป ที่หน้ายาง และมองลึกลงไปที่ร่องดอกยาง ก็จะพบสันนูนที่ร่องยาง ซึ่งเรียกว่า สะพานยางและเมื่อไหร่ที่ดอกยางสึก ไปถึงสะพานยาง นั่นแสดงว่ายางหมดอายุการใช้งาน ก็ควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่ได้ทันที ส่วนการสลับยางที่ระยะนี้ จะใช้รูปแบบที่สลับในช่วงระยะ 20,000 กิโลเมตร ที่จะทำการสลับยางในลักษณะไขว้กัน ทั้งหน้า/หลัง และ ฝั่งซ้าย/ขวา

 

ดอกยาง ต้องสลับยางจุดสังเกตุ ต้องสลับยาง

หากไม่สลับยางจะได้มั้ย..?? ผลที่จะตามมาคือ การสึกหรอของยางทั้ง 4 เส้นจะไม่เท่ากัน หากสึกหรอต่างกันมาก อาจถึงขั้นทำให้ มุมศูนย์ล้อรถยนต์ผิดเพี้ยนไป เกิดอาการเบรกดึงซ้ายหรือดึงขวา ไปด้านใดด้านหนึ่งซึ่งหากวิ่งในทางเปีียกลื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่ใช้ความเร็วสูง   อาจก่อให้เกิดอัตรายได้ หากเป็นรถขับเคลื่อนล้อหน้า อายุการใช้งานของยางคู่หน้า ดอกจะหมดก่อนล้อคู่หลังเป็นเท่าตัว

ตรวจสภาพโดยรวม..บอกเวลาเปลี่ยนยาง !!! ถึงแม้ยางจะมีดอกอยู่ ยังไม่หมดอายุ แต่เกิดการบวมล่อนขึ้น บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ที่หน้ายาง แก้มหรือไหล่ยาง ก็ควรเปลี่ยนใหม่ทันทีเช่นกัน เพราะหากยังใช้ต่อไป ยางอาจแตกระเบิดได้ หรือถ้าเกิดบาดแผลขึ้น โดยแผลนั้นมีความลึกไปถึงโครงสร้างยางภายใน และมีความกว้างของบาดแผลมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผลบริเวณแก้มยาง ห้ามทำการปะซ่อมและนำมาใช้งานเด็ดขาด ควรเปลี่ยนยางใหม่โดยด่วนทันที

อายุการใช้งานของยาง หากให้ระบุชัดๆ เป็นระยะทางเลขกิโลเมตรนั้น.. คงบอกยาก เนื่องจากมีหลายปัจจัยเป็นตัวแปล ทำให้เกิดการสึกหรอของดอกยางของผู้ใช้แต่ละคน ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น การบรรทุกน้ำหนักมากๆ ความดันลมยางไม่เหมาะสม ความเร็วในการขับขี่ สภาพผิวถนนที่ขระขระเป็นประจำ ก็จะสึกหรอมากกว่า อุณหภูมิสภาพอากาศ ระบบช่วงล่างรถยนต์และศูนย์ล้อ รวมไปถึงการหยุดรถและการออกรถ เป็นต้น ทางที่ดีควรหมั่นตรวจสอบสภาพยางรถยนต์ อย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการดีกว่า เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณและผู้ร่วมทางที่คุณรัก..


ข่าวแนะนำ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา ยอมรับ เรียนรู้เพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy