Home » วิเคราะห์ในยุค Autonomous Cars รถหรือคน ที่ “เฟอะฟะ” ??

วิเคราะห์ในยุค Autonomous Cars รถหรือคน ที่ “เฟอะฟะ” ??

by Admin clubza.tv

Cr ภาพ www.internetofbusiness.com

  

 ครั้งที่แล้วได้กล่าวถึงกรณี “รถไร้คนขับ Autonomous Cars” เรื่องระบบ AI ที่เฟอะฟะของมัน อันทำให้เกิดอุบัติเหตุหลายราย จนวงการต้องกลับไปรื้อฟื้น ปรับปรุงฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์  กล้อง LIDAR, REDAR เป็นการใหญ่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องพิจารณา “บริบท” ในการใช้งานของมัน ซึ่งต้องมีคนและ “พฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนของคน” มาว่ากันคู่ควบไปด้วยจึงจะถือว่าแฟร์ ไม่ใช่จะไปปรักปรำที่รถมันอย่างเดียว เพราะยังมีคนบางประเภท บางประเทศ บางจำพวก ที่ใช้รถแบบ “เฮี่ยๆ” วิ่งปะปนเยอะอยู่เหมือนกันบนโลกนี้ !! 

AI ถึงกับ “เหวอ” 

Cr ภาพ www.abc15.com

  พฤติกรรมการขับขี่ ใช้ถนนของพฤติกรรมที่ว่านี้ ทำให้ระบบปัญญาประดิษฐ์ เครื่องจักรกลแสนรู้ ของมันจะถึงกาละแห่งการ ‘ไปไม่เป็น’ หรือเหวอ เฟอะฟะได้ พวกวินัยจราจร การใช้ถนน/ข้างถนน อันเป็นสถานะการณ์ที่ผู้คิดโปรแกม ซอฟท์แวร์ต่างๆเขา ‘นึกไม่ถึง’ ว่าจะมีบนโลกนี้ มันต้องอาศัยจินตนาการชั้นสูงทีเดียว ที่จะให้คนที่เคยชินกับเมือง ประเทศ มีวินัยการจราจรสูง ให้สามารถสร้างอัลกอริธึม แพลทฟอร์มสมองกลอันชาญฉลาดของพวกเขา เพื่อออกมารับมือกับสภาพการขับขี่ที่แสนไร้ระเบียบที่ว่านี้ แต่อย่างไรในที่สุด ผู้ผลิตรถไร้คนขับก็ต้องปรับระบบขับขี่อัติโนมัติของมันออกมาให้จงได้ ถ้าหวังจะขายรถพวกนี้ในตลาดที่คลุมไปโลก นั่นคือใช่ว่าอยู่ๆผลิต Autonomous Cars มาดีเลิศ ใส่ AI ระดับ 4-5 มาแล้วจะวิ่งปร๋อ ปลอดภัย โดยเฉพาะประเทศที่ผู้ใช้รถใช้ถนนอยู่ในระดับ “กำลังพัฒนา”  ที่มีทั้ง ‘คน สัตว์ สิ่งของ’ ครบบนท้องถนนและรอบข้าง  ส่งผลให้ระบบเซ็นเซอร์ที่ใช้สแกนสถานะการณ์ขณะขับขี่ ไม่ว่าจะโดยเรด้าร์ อุลตร้าโซนิค เลเซอร์ลิด้าร์ ‘ทำงานเพี้ยน’ ถ้ามีวัตถุจำนวนมากอยู่ในระยะใกล้ หรือล้อมรอบมัน ระบบควบคุมการทำงานจะสั่งให้มันเข้าสู่โหมดจอดไม่เคลื่อนที่  เพราะอัลกอริธึมที่เขาโปรแกรมไว้จะเลือกทางออกที่ไม่เสี่ยง เลี่ยงอุบัติเหตุเป็นหลัก มันจะหยุดทำงานชั่วคราวเมื่อพบตัวแปรสำคัญที่เป็นปัจจัยสู่อุบัติเหตุต่างเหล่านี้ สถาบันวิจัยเมืองนอกเคยนำรถ AI ที่ว่าสุดยอดในวงการ ไปทดสอบ ทดลองวิ่งจริงในสภาพจราจรแออัด ในประเทศกำลังพัฒนา ผลคือรถมันไปไม่เป็นจริงๆ 

การป้อนข้อมูล พฤติกรรมใช้รถ ใช้ถนน ให้ AI เรียนรู้

  ผู้ทำการศึกษาเขาเลือกไปทดสอบระบบ AI ที่รัสเซีย อังกฤษ ฮ่องกง จีน (รู้สึกว่าเขาพลาดที่ไม่เอาไทยแลนด์รวมเข้าไว้ด้วย) อย่างที่มอสโคว์ที่พวกเรามีความคิดเห็นว่า “เมืองอุบาทว์ของผู้ขับขี่ จะเป็นอย่างไรถ้ารถ(อัตโนมัติ)ไม่รู้จักเรียนรู้กับมัน” …”ถนนที่วุ่นวาย สภาพอากาศที่แย่ ขับขี่กันอย่างบ้าเลือด เมืองหลวงของรัสเซียนี้ คือแห่งหนึ่งที่ถือว่าแย่สุดในการขับขี่ เป็นการท้าทายอันมีเอกลักษณ์มากสำหรับรถอัตโนมัติ”

 ข้ามมาที่อังกฤษ พี่แกก็ไม่เบาเหมือนกัน สรุปออกมาจะว่าที่อังกฤษก็ยังน่าห่วง “ทักษะการขับของพวกอังกฤษที่ห่วย ทำให้เราต้องปรับเทคโนโลยีพอสมควร เพื่อให้รถพวกนี้สามารถ ‘คิด’ เองได้ เมื่อนำมาใช้บนถนนที่นี่” ทั้งขับจี้ตูด ซิ่ง เบียดปาด ยูเทิร์นผิดกฎ เหล่านี่คือพฤติกรรมของผู้ใช้รถชาวอังกฤษ ที่น่าจะสร้างปัญหาต่อรถไร้คนขับมากทีเดียว นี่คือเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด วิเคราะห์ แล้วนำลักษณะการขับขี่อันเลวร้ายเหล่านี้ มา ‘อบรม สั่งสอน’ ให้กับปัญญาประดิษฐ์ที่จะนำมาใช้กับรถอัติโนมัติ ที่จะนำมาใช้ที่นี่ 

เครื่องมือในการวิเคาะห์ 

Cr ภาพ www.embedded.com

 ในการวิเคราะห์เรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้นำข้อมูลที่ได้จากกล้องวงจรปิดหลายพันตัวและจากโดรน มาใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ลักษณะการขับของผู้ใช้รถ จากนั้นก็ใช้เทคโนโลยีของเครื่องจักรกลแสนรู้ ทำการพยากรณ์ สร้างสถานะการณ์จำลองหลายๆรูปแบบ ให้เครื่องมันสามารถควบคุม จัดการ ได้อย่างถูกต้อง โดยให้มันศึกษา เรียนรู้จากพฤติกรรมการขับของมนุษย์ เป็นข้อมูลตั้งต้นที่เราป้อนให้มัน วิชาเอกที่สอนมันคือ ‘การขับขี่อันแสนเลวของมนุษย์’ 

   นอกเหนือจากนั้น การศึกษาครั้งนี้ได้นำข้อมูล พฤติกรรมของคนเดินถนน ผู้ขี่จักรยาน มอเตอร์ไซค์ เข้าไปรวมในงานนี้ด้วย โดยมีเจ้าภาพใหญ่ คือรัฐบาลอังกฤษ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ก่อนจะอนุญาตให้นำรถประเภทนี้มาใช้ในประเทศอย่างเป็นทางการในอนาคต 

‘จีน’ ของเฮียๆ ก็ “เฮี่ย” ไม่แพ้ใคร !!

  การศึกษาทำที่ฮ่องกง ซึ่งถือว่ายังมีวินัยจราจรดีกว่าหลายเมืองใหญ่ในจีน นี่คือการเตรียมพร้อมของจีน ในการนำรถประเภทนี้มาใช้ ซึ่งมีคาดว่าจะ ‘ชุกชุม’ มากเป็นอันดับหนึ่งของโลกในอีกสิบปีข้างหน้า ทั้งวิสัยทัศน์ของจีนเอง ที่สนับสนุนให้ผู้ผลิตทั้ง BAIDU, PONI.ai และ AUTO X พัฒนาเทคโนโลยีรถไร้คนขับ แท๊กซี่ไร้คนขับ มาใช้เป็น Mobility หลัก พบว่าที่ฮ่องกงนี่มีลักษณะต่างออกไปจากทางตะวันตก คือมีทั้งถนนกว้าง ถนนแคบ คนข้ามถนนจะใช้พฤติกรรมคนละอย่างตอนข้าม คือเมื่อมีตำรวจยืนให้เห็นก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปอีกแบบหนึ่ง (คุ้นๆกับประเทศอะไรหว่า?) อันต่างไปจากเยอรมันหรือญี่ปุ่น !!  

เครื่องจักรกลแสนรู้ ยังต้องเรียนรู้จากคน 

Cr ภาพ www.rac.co.uk

  แง่เทคโนโลยี แม้จะมี 5G และ G ลำดับอื่นที่สูงส่งกว่านั้นในอนาคต แม้จะมีระบบ AI ระบบเซ็นเซอร์เรด้าร์ ลิด้าร์ อุลตร้า ระบบที่ใช้หน่วยตรวจวัดการเคลื่อนไหวภายใน IMU(Inertial Measurement Unit) เชื่อมต่อกับระบบ GPS ต่างๆนาๆ ที่มนุษย์จะพัฒนาขึ้นมา แต่สิ่งที่เรายังต้องเติมเต็ม เป็นค่าตั้งต้นให้กับปัญญาประดิษฐ์ที่สำคัญอันหนึ่ง คือด้าน ‘พฤติกรรมการใช้รถใช้ถนน’ ของพวกเรานี่เอง ทั้งนี้อย่าไปโทษรถไร้คนขับ-Autonomous Cars ฝ่ายเดียว!!

   ขอบคุณ “ปล้อน” ที่อุตส่าห์ค้นข้อมูลจาก   www.scmp.com, Oct.6, 2019,  www.telegraph.co.uk, Jun.29, 2019, www.theguardian.com มาให้ ช่วงนี้แกทำงานคล่อง ลื่นขึ้นเยอะ หลังจากแว๊บไป “เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง” แถวรัชดาฯมา ….. 

Cr ภาพ www.deviantart.com

 


ข่าวแนะนำ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา ยอมรับ เรียนรู้เพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy