โดยปกติแล้ว…สิ่งที่ผู้ใช้รถใช้ถนนมักจะนำมาเป็นประเด็นสำคัญ เพื่อตัดสินใจเลือกซื้อรถสักคันหนึ่ง คงหนีไม่พ้นค่าใมช้จ่ายในการเดินทางต่อ กม. ซึ่งแน่นอนว่า หากใช้งานรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปทั่วไป หรือแม้แต่รถไฮบริด สิ่งที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายในการใช้งานมากที่สุด คงหนีไม่พ้น “ราคาน้ำมัน” แต่หากเป็นการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ BEV แล้ว แน่นอนว่า คือ ค่าไฟฟ้า ต่อหน่วยนั่นเอง
หลายคนอาจจะมองว่า ราคาน้ำมัน ล้วนมีขึ้น – มีลง ตามช่วงเวลาและสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป แต่อันที่จริงแล้ว ค่าไฟฟ้า ก็เป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่าย (ซึ่งน้อยคนที่จะรู้หรือให้ความสนใจ) ที่มีการปรับขึ้น หรือปรับลง ได้ในหลายๆ ช่วงเวลาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะสำหรับ ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อ ค่า FT ซึ่งมีผลต่อค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าอย่างยิ่ง โดย ค่า FT นี้ จะมีการปรับขึ้น – ลง ในทุกๆ ไตรมาส เช่น ในช่วงเดือน กันยายน – ธันวาคม 2566 ค่า FT ถูกกำหนดเอาไว้ที่ 20.48 สตางค์/หน่วย (หรือ 0.2048 บาท ต่อ 1 kW) ส่วนในช่วง เดือนมกราคม – เมษายน ที่จะถึงนี้ การไฟฟ้ามีการปรับขึ้น ค่า FT เป็น 89.55 สตางค์/หน่วย (หรือ 0.8955 บาท ต่อ 1 kW) ซึ่งแน่นอนว่า ด้วยค่า FT ที่ปรับสูงขึ้น ย่อมส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน รวมถึง การใช้ไฟฟ้าสำหรับชาร์จรถ EV ได้เช่นเดียวกัน
สูตรคำนวนค่าไฟฟ้า
ค่าไฟฟ้าฐาน = (จำนวนหน่วยที่ใช้ x อัตราค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วย) + ค่าบริการ
ค่าใช้ไฟฟ้าที่ต้องจ่ายจริง = ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) + ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) = ค่าไฟฟ้าจริง
– อัตราค่าไฟฟ้าพื้นฐาน
รูปแบบตามปริมาณการใช้ไฟฟ้า | บ้านอยู่อาศัยอัตรา 1.1 (ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วย ต่อเดือน) | บ้านอยู่อาศัยอัตรา 1.2 (ใช้ไฟตั้งแต่ 150 หน่วย ต่อเดือน ขึ้นไป) |
ค่าใช้ไฟฟ้า | – 1-15 หน่วย = 2.34 บาท/หน่วย -16-25 หน่วย = 2.98 บาท/หน่วย – 26-35 หน่วย = 3.24 บาท/หน่วย – 36-100 หน่วย = 3.62 บาท/หน่วย – 101-150 หน่วย = 3.71 บาท/หน่วย – 151-400 หน่วย = 4.22 บาท/หน่วย | – 1-150 หน่วย = 3.25 บาท/หน่วย – 151-400 หน่วย = 4.22 บาท/หน่วย – ส่วนเกิน 400 หน่วย = 4.42 บาท/หน่วย
|
ค่าบริการ | – 8.19 บาท / เดือน | 38.22 บาท / เดือน |
– ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ FT = จำนวนพลังงานไฟฟ้า x ค่า FT
ตัวอย่างการคำนวณค่าไฟในการชาร์จ จากค่า FT ที่เปลี่ยนไป (ใช้ไฟ 200 หน่วย / เดือน)
ค่า FT ที่ใช้คำนวน | 0.2048 บาท (กันยายน – ธันวาคม 2566) | 0.8955 บาท (มกราคม – เมษายน 2567) |
ค่าไฟฟ้า (อัตรา 1.2) | – 150 x 3.25 = 487.5 (สำหรับ 150 หน่วยแรก) – 50 x 4.22 = 211 (สำหรับ 50 หน่วยที่เหลือ) รวมค่าไฟฟ้าพื้นฐาน 698.5 บาท | – 150 x 3.25 = 487.5 (สำหรับ 150 หน่วยแรก) – 50 x 4.22 = 211 (สำหรับ 50 หน่วยที่เหลือ) รวมค่าไฟฟ้าพื้นฐาน 698.5 บาท |
ค่าบริการ | – 38.22 บาท (สำหรับอัตรา 1.2) | – 38.22 บาท (สำหรับอัตรา 1.2) |
ค่า FT | – 200 x 0.2048 = 40.96 บาท (หน่วย x ค่า FT) | – 200 x 0.8955 = 179.10 บาท (หน่วย x ค่า FT) |
ภาษีมูลค่าเพิ่ม | – (698.50 + 38.22 + 40.96) x 7% = 54.43 บาท | – (698.50 + 38.22 + 179.10) x 7% = 64.10 บาท |
รวมค่าไฟฟ้าที่ต้องชำระ | 832.11 บาท | 979.92 บาท |
ค่าใช้จ่ายต่อ กม. | 0.41 บาท / กม. | 0.48 บาท / กม. |
ส่วนต่างค่าใช้จ่ายต่อ กม. | – | + 0.07 บาท / กม. |
*ในเงื่อนไขหากใช้รถ EV เดือนละ 2,000 กม. ซึ่งรถคันนั้นๆ มีอัตราสิ้นเปลืองอยู่ที่ 10 kWh / 100 กม. เท่ากับว่า ในแต่ละเดือน จะต้องชาร์จไฟ 200 หน่วย หรือ 200 kW
ตัวอย่างการคำนวณค่าไฟในการชาร์จ จากค่า FT ที่เปลี่ยนไป (ใช้ไฟ 300 หน่วย / เดือน)
ค่า FT ที่ใช้คำนวน | 0.2048 บาท (กันยายน – ธันวาคม 2566) | 0.8955 บาท (มกราคม – เมษายน 2567) |
ค่าไฟฟ้า (อัตรา 1.2) | – 150 x 3.25 = 487.5 (สำหรับ 150 หน่วยแรก) – 150 x 4.22 = 633 (สำหรับ 150 หน่วยที่เหลือ) รวมค่าไฟฟ้าพื้นฐาน 1,120.5 บาท | – 150 x 3.25 = 487.5 (สำหรับ 150 หน่วยแรก) – 150 x 4.22 = 633 (สำหรับ 50 หน่วยที่เหลือ) รวมค่าไฟฟ้าพื้นฐาน 1,120.5 บาท |
ค่าบริการ | – 38.22 บาท (สำหรับอัตรา 1.2) | – 38.22 บาท (สำหรับอัตรา 1.2) |
ค่า FT | – 300 x 0.2048 = 61.44 บาท (หน่วย x ค่า FT) | – 300 x 0.8955 = 268.65 บาท (หน่วย x ค่า FT) |
ภาษีมูลค่าเพิ่ม | – (698.50 + 38.22 + 61.44) x 7% = 55.87 บาท | – (698.50 + 38.22 + 268.65) x 7% = 70.37 บาท |
รวมค่าไฟฟ้าที่ต้องชำระ | 1,276.03 บาท | 1,497.74 บาท |
ค่าใช้จ่ายต่อ กม. | 0.63 บาท / กม. | 0.74 บาท / กม. |
ส่วนต่างค่าใช้จ่ายต่อ กม. | – | + 0.11 บาท / กม. |
*ในเงื่อนไขหากใช้รถ EV เดือนละ 2,000 กม. ซึ่งรถคันนั้นๆ มีอัตราสิ้นเปลืองอยู่ที่ 15 kWh / 100 กม. เท่ากับว่า ในแต่ละเดือน จะต้องชาร์จไฟ 300 หน่วย หรือ 300 kW
เพื่อให้เห็นภาพ ในครั้งนี้ #ทีมขับซ่า จึงจำลองรูปแบบการใช้งานรถ EV ซึ่งโดยปกติแล้ว จะอยู่ในช่วงประมาณ 2,000 กม. ต่อเดือน โดยรถแต่ละรูปแบบ จะมีอัตราสิ้นเปลืองพลังงานโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10 – 15 kWh / 100 กม. ซึ่งในแต่ละเดือนนั้น จะใช้ไฟในการชาร์จอยู่ที่ประมาณ 200-300 หน่วย (ไม่รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ภายในบ้าน) หากคิดเป็นค่าไฟต่อเดือน สำหรับการใช้ไฟฟ้า 200 หน่วย ค่าใช้จ่ายในการชาร์จไฟจะอยู่ที่ 832.11 บาท หรือคิดเป็น 0.41 บาท / กม. สำหรับค่าไฟฟ้า ณ ปัจจุบัน แต่หากมีการปรับขึ้นค่า FT เป็น 0.8955 บาท ค่าไฟจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ 979.92 บาท หรือคิดเป็น 0.48 บาท / กม. ในทำนองเดียวกัน หากใช้ไฟฟ้าต่อเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 300 หน่วย ค่าไฟฟ้าในอัตราเดิมจะอยู่ที่ 1,276.03 บาท หรือคิดเป็น 0.63 บาท / กม. แต่สำหรับอัตราค่าไฟฟ้าจากค่า FT ใหม่ระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน 2567 ค่าใช้จ่ายสุทธิจะขยับขึ้นเป็น 1,497.74 บาท หรือคิดเป็น 0.74 บาท / กม. ซึ่งมีส่วนต่างจากเดิมอยู่ที่ 0.11 บาท / กม.
สามารถคำนวนค่าไฟตามค่า FT ได้ที่ MEA, PEA
ส่องราคาใหม่ รถ EV 10 รุ่นชั้นนำ ตามมาตรการสนับสนุน EV 3.5 ปรับรอบนี้ คันไหน…เท่าไหร่บ้าง ?