Home » Vespa พาบุกโรงงาน Factory of Emotional ในเวียดนาม ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ…งานผลิตแบบ Hand Made ยังมีอยู่จริง !

Vespa พาบุกโรงงาน Factory of Emotional ในเวียดนาม ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ…งานผลิตแบบ Hand Made ยังมีอยู่จริง !

by Admin clubza.tv
Vespa พาบุกโรงงาน Factory of Emotional ในเวียดนาม

หลังจากที่ในครั้งก่อน Mr.Pajingo ได้พาทุกท่านไปสัมผัสประสบการณ์เสียวในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม มาเป็นที่เรียบร้อย ในครั้งนี้เราจะของเข้าเรื่องเข้าราว กับภาคต่อของกิจกรรมที่ทาง Vespa ประเทศไทย จัดให้ใน Vespa Factory Tour ในครั้งนี้ นั่นก็คือ การเยี่ยมชมไลน์การผลิตสกู๊ตเตอร์สัญชาติอิตาเลียน 3 แบรนด์ดัง ในเครือ Piaggio Group ซึ่งประกอบไปด้วย Vespa, Piaggio และ Aprillia นั่นเอง

โรงงานผลิตและประกอบสกู๊ตเตอร์ในเครือ Piaggio Group ที่เมืองหวิงฟุก ประเทศเวียดนาม

สำหรับโรงงานผลิตและประกอบสกู๊ตเตอร์ในเครือ Piaggio Group ที่เมืองหวิงฟุก ประเทศเวียดนาม ถือเป็น 1 ใน 12 โรงงาน จากทั่วโลก (อิตาลี 5 แห่ง, อินเดีย 3 แห่ง, เวียดนาม 2 แห่ง, จีน และ อินโดนิเซีย ที่ละ 1 แห่ง) ซึ่งมีเทคโนโลยีการผลิตและประกอบที่ทันสมัย โดยนอกจากจะเป็นโรงงานผลิตและประกอบแล้ว ที่นี่ยังเป็นหนึ่งในศูนย์วิจัยและพัฒนา 1 ใน 7 แห่ง ของโลกอีกด้วย (แห่งเดียวในเอเซียแปซิฟิก) บนพื้นที่กว่า 265,000 ตารางเมตร นับถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 15 ปี ที่โรงงานแห่งนี้ ปล่อยผลิตภัณฑ์สกู๊ตเตอร์ของแบรนด์ในเครือ Piaggio Group ทั้ง Vespa, Piaggio และ Aprillia ออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งไปจำหน่ายยัง 100 ประเทศ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสกู๊ตเตอร์ในตระกูลท็อปคลาสอย่าง Vespa GTS ที่เริ่มผลิตมาตั้งแต่ในปี 2004 จนถึงรุ่นล่าสุดในเครืออย่าง Aprillia SR GT 200 

มร. จิอานลูกา ฟิอูเม ผู้บริหารแห่ง Piaggio Group

สิ่งที่เป็นหัวใจหลักในการออกและพัฒนาสกู๊ตเตอร์แบรนด์หลักในเครืออย่าง Vespa คือ จะเน้นแนวทางแบบดั้งเดิมในการออกแบบ เพื่อให้ผู้ขับขี่ได้สัมผัสความเป็น Vespa ให้ได้มากที่สุด ตามแบบฉบับความเป็น Scooter of Emotional ซึ่งอาจจะไม่ได้โดดเด่นที่สุดในเรื่องเทคโนโลยี หรือสมรรถนะในการขับเคลื่อน แต่เป็นรถที่ให้อารมณ์ร่วมในการขับขี่ การแต่งแต้มสีสันที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด นั่นจึงเป็นเหตุผลที่สกู๊ตเตอร์จากแบรนด์ Vespa ยึดดีไซน์หลักจากสกู๊ตเตอร์ในยุคคลาสสิค พร้อมถ่ายทอดกลิ่นอายแห่งความทันสมัย และเทคโนโลยีการขับขี่เข้าไป แบบไม่เสีย Emotional ในสไตล์ดั้งเดิมมากจนเกินไป

ด้วยการใช้โครงสร้างตัวถังโลหะ (เชื่อมมือ) เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ Vespa เป็นสกู๊ตเตอร์ที่มีความทนทาน ตัั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ความน่าสนใจในการเยี่ยมชมโรงงานผลิตในเครือ Piaggio Group ในครั้งนี้ก็คือ การมีโอกาสได้เยี่ยมชมสายการผลิต ซึ่งอย่างที่เกริ่นไปในเบื้องต้นว่า ที่นี่รองรับการผลิตสกู๊ตเตอร์ทั้งแบรนด์ Vespa, Piaggio และ Aprillia ในช่วงที่เราเข้าเยี่ยมชมนั้น ไลน์การผลิตอยู่ในช่วงการประกอบ Vespa GTS ซึ่งเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการสปอตตัวเชื่อมถังด้วยแรงงานคน ที่ใช้โครงสร้างเหล็กขึ้นรูปเป็นส่วนหนึ่งของตัวถัง ลักษณะคล้ายกับรถยนต์ที่ใช้โครงสร้างตัวถังแบบ Monocoque หรือ Unibody ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สกู๊ตเตอร์จากแบรนด์ Vespa มีความทนทานเหนือกว่าสกู๊ตเตอร์ หรือมอเตอร์ไซค์ทั่วๆ ไป ที่ทำตลาดอยุ่ ณ ปัจจุบัน (ไม่ได้ใช้เมนเฟรม เหมือนกับรถแบรนด์อื่นๆ แล้วแปะทับด้วยชุดแฟริ่งพลาสติก หรือหากเทียบลักษณะกับรถยนต์ คือ รถที่ใช้รูปแบบ Body on Frame หรือตัวถังวางอยู่บนแชสซีส์) โดยหลังจากที่เชื่อมเสร็จแล้ว โครงสร้างจะถูกส่งต่อตามไลน์การผลิต เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการชุบกันสนิมด้วยปฏิกริยาทางไฟฟ้า ซึ่งแต่ละคันจะต้องผ่านขั้นตอนการชุบกันสนิมเป็นเวลาประมาณ 30 นาที

พ่นสีด้วยมือ พร้อมเก็บรายละเอียดอย่างพิถีพิถันในทุกขั้นตอน

หลังจากที่ผ่านขั้นตอนการชุมกันสนิมเป็นที่เรียบร้อย บรรดาเฟรม Vespa ก็จะเข้าสู่อีกหนึ่งกระบวนการสำคัญ นั่นก็คือ การพ่นสี โดยขั้นตอนในการพ่นสีของโรงงานที่นี่ จะใช้วิธีแบบดั้งเดิม นั่นก็คือ การพ่นสีด้วยมือ (แทนการใช้เครื่องจักร) ซึ่งผู้บริหารในโรงงานของ Piaggio Group ให้เหตุผลของการใช้แรงงานคนในการพ่นสี เป็นเพราะความละเอียด ใส่ใจในการทำงาน มีมากกว่าการผลิตในรูปแบบที่ใช้เครื่องจักร (ถึงกับใช้คำว่า Machine is Stupid…แปลได้ไม่ยากนะ 555) เห็นแล้วให่ความรู้สึกในความเป็น Factory of Emotional อย่างแท้จริง หลังจากที่เสร็จสิ้นกระบวนการสี เฟรมที่ผ่านกระบวนการอบจนได้ที่แล้ว จะถูกส่งเข้าสู่ไลน์การประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ องประกอบพื้นฐาน เพื่อประกอบให้เป็นคัน ก่อนที่จะเข้าสู่ห้องตรวจสอบคุณภาพในขั้นตอนสุดท้าย กำลังการผลิตในแต่ละวัน จะอยู่ที่ประมาณ 550 คัน/วัน

ไลน์การประกอบเครื่องยนต์ 3 บล็อค สำหรับใช้ภายใน และส่งออกไปยังโรงงานต่างๆ

ไลน์การผลิตในโรงงานของ Piaggio Group ที่เมืองหวิงฟุก ประเทศเวียดนาม จะแบ่งออกเป็น 3 ไลน์ (สามารถประกอบได้ 3 คัน ในช่วงเวลาเดียวกัน) ตั้งแต่ขั้นตอนการเชื่อมโครงสร้างตัวถัง, การทำสี รวมไปถึงขั้นตอนการประกอบตัวรถ เช่นเดียวกับไลน์การประกอบเครื่องยนต์ ซึ่งโรงงานแห่งนี้ รับหน้าที่ประกอบเครื่องยนต์ตั้งแต่ 125, 150 และ 175 ซีซี. (เครื่องของ Aprillia SR GT 200 นั่นเอง…ส่วนเครื่องยนต์ของ Vespa GTS 300 ซีซี. เป็นการนำเข้าจากประเทศอิตาลี มาเพื่อประกอบเข้ากับตัวรถภายในโรงงานเท่านั้น) ชิ้นส่วนหลักๆ ที่ใช้มาจากซัพพลายเออร์ภายในประเทศ โดยมีการควบคุมมาตรฐาน พร้อมปรับรายละเอียดให้เหมาะสมกับการนำมาใช้งานโดยทางโรงงานของ Piaggio Group ซึ่งนอกจากจะผลิตเครื่องยนต์เพื่อใช้ประกอบสกู๊ตเตอร์ 3 แบรนด์หลัก ภายในโรงงานแล้ว ยังมีการส่งออกไปยังโรงงานประกอบในที่อื่นๆ (ที่ไม่ได้เป็นแพล้นท์สำหรับประกอบเครื่องยนต์ เช่น จีน หรืออินโดนิเซีย อีกด้วย)

ทดลองขี่เบาๆ ในสนามทดสอบของ Piaggio Group

นอกจากเยี่ยมชมไลน์การผลิตแล้ว Mr.Pajingo ยังมีโอกาสได้ทดลองขี่สกูตเตอร์รุ่นต่างๆ ของทั้ง 3 แบรนด์ ซึ่งประกอบไปด้วย Vespa GTS 300 และ 150 ซีซี., Aprillia SR GT 200 สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า Piaggio One ซึ่งเป็นการทดลองขี่ “เอาฟีล” ในช่วงสั้นๆ คงไม่สามารถถ่ายทอดฟีลลิ่งออกมาได้ทั้งหมด แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับ คือ ความพร้อมภายในโรงงานแห่งนี้ นอกจากมีรายละเอียดในการประกอบ (มือ) ที่น่าสนใจแล้ว ยังถือว่าเป็นโรงงานที่มีมาตรฐาน เพียบพร้อมสำหรับการทดสอบและพัฒนา อีกทั้งยังเป็นโรงงานผลิตเปี่ยมด้วยอารมณ์ ในแบบฉบับความเป็น Factory of Emotional อย่างแท้จริง


ข่าวแนะนำ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา ยอมรับ เรียนรู้เพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy