Mercedes-Benz ถือเป็นอีกหนึ่งค่ายที่พัฒนารถยนต์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของตัวเองได้แบบก้าวกระโดด ซึ่งหลังจากที่เมื่อต้นปีก่อนได้ปล่อยรถในตระกูล C-Class ออกมา พร้อมจุดขายการดึงระบบช่วยขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ามาใช้ในทุกรุ่นย่อย รวมถึงความเป็นรถในรูปแบบ Plug in Hybrid ที่สามารถวิ่งได้ทะลุ 100 กม. ต่อชาร์จ ถือเป็นไฮไลท์ที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ในอีก 1 ปีให้หลัง เป็นช่วงเวลาที่ค่าย Mercedes-Benz ก้าวเข้าสู่การปรับทัพรถในสายรหัสที่ใกล้เคียงกันอย่าง Mercedes-Benz GLC ซึ่งการกลับมาในครั้งนี้ ยังคงรักษาเอกลักษ์ที่โดดเด่นอันนั้นไว้ แถมด้วยการใส่เทคโนโลยีการขับเคลื่อนใหม่ๆ เข้าไป เพื่อดึงศักยภาพของตัวรถ Mercedes-Benz GLC โมเดลปี 2023 ซึ่งถือเป็นเจนเนอเรชั่นที่ 2 ออกมาใช้ได้ได้มากขึ้น
แม้ว่าในระยะหลังค่าย Mercedes-Benz จะเบนเข็มไปที่การพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าในคลาสต่างๆ ออกมาได้ค่อนข้างครอบคลุม แต่รถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปที่ขายดีที่สุดของค่ายอย่างตระกูล GLC ค่าย Mercedes-Benz ยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการปรับองประกอบที่นำมาใช้ โดยเฉพาะระบบการขับเคลื่อน ที่แม้หัวใจหลักจะยังคงใช้เครื่องยนต์อยู่ แต่ปรับให้มีการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้งานร่วมด้วยมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะสอดรับกับทิศทางการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสงสุดแล้ว ยังส่งให้ตัวรถ Mercedes-Benz GLC มีสมรรถนะโดยรวมที่ดีขึ้นตามไปด้วย
เช่นเดียวกับในด้านภาพลักษณ์ แม้ว่ามองเผินๆ จะให้ความรู้สึกไม่แตกต่างจาก Mercedes-Benz GLC เจนเนอเรชั่นก่อนมากนัก แต่กลับสอดคล้องกับแนวทางในการพัฒนาของค่ายที่เน้นการเพิ่มความยาวและรักษาความกว้างของตัวถัง เพื่อประโยชน์ใช้สอยที่มากขึ้น แต่กลับรถความสูงลงเพื่อให้สอดคล้องกับหลักอากาศพลศาสตร์ ซึ่งส่งให้ค่าสัมประสิทะิ์แรงเสียดทานอยู่ที่ 0.29 (จากเดิม 0.31) โดย Mercedes-Benz GLC มีความยาวตัวถังอยู่ที่ 4,716 มม. (ยาวกว่ารุ่นเดิม 60 มม.) และระยะฐานล้อยืดออก 15 มม. เป็น 2,888 มม. ส่วนความกว้างตัวถังยังคงเดิมที่ 1,890 มม. (แต่ระยะช่วงล้อซ้าย – ขวา มากขึ้น ทั้งหน้าและหลัง) และความสูงถูกลดลงมาอีก 4 มม. ซึ่งด้วยขนาดตัวถังที่ใหญ่ขึ้น ส่งให้ Mercedes-Benz GLC มีพื้นที่เก็บสัมภาระด้านท้ายมากถึง 620 ลิตร
การตกแต่งภายในห้องโดยสารของ Mercedes-Benz GLC
เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาของค่าย Mercedes-Benz ยุคใหม่ เริ่มตั้งแต่ใน S-Class ถ่ายทอดมายัง C-Class และ GLC-Class ในที่สุด ชัดเจนที่สุดคงเป็นหน้าจอแสดงผลการขับขี่ขนาด 12.3 นิ้ว จับคู่กับหน้าจออินโฟเทนเม้นท์ขนาด 11.9 นิ้ว ที่วางอยู่กลางคอนโซล ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในทุกรุ่นย่อย พร้อมการตกแต่งด้วยวัสดุสีเทารวมถึงแอมเบี้ยนไลท์ที่สอดแทรกไว้อย่างกลมกลืน ซึ่งในแต่ละรุ่นย่อย ก็จะมีธีมในการตกแต่งที่แตกต่างกันออกไป สิ่งที่เป็นจุดสังเกตคือ ด้วยความสูงของตัวรถที่ลมลง ทำให้ผู้โดยสารในตอนหน้าถุกลดระยะช่วง Head Room ลงมาอีกประมาณ 15 มม. (ซึ่งอาจส่งผลต่อผู้ขับขี่ร่างใหญ่) โดยมาพร้อมเบาะนั่งที่สามารถปรับอุณหภูมิได้ตามต้องการ, การรองรับการเชื่อมต่อ Android Auto และ Apple CarPlay, แท่นชาร์จสมาร์ทโฟนแบบ Wireless และปุ่มสแกนลายนิ้วมือเพื่อบันทึกโปรไฟล์ของผู้ขับขี่ เป็นอุปกรณ์มาตรฐานทั้งสิ้น แต่สิ่งที่ว้าวที่สุดภายในห้องโดยสาร สำหรับการกลับมาของ Mercedes-Benz GLC เจนเนอเรชั่นที่ 2 คงหนีไม่พ้น ออพชั่นเสริมด้วยชุดหน้าจอ Head Up Display ที่มาพร้อมเทคโนโลยีล่าสุดในชื่อ Transparent Hood สามารถแสดงข้อมูลได้อย่่างหลากหลาย รวมถึงสามารถแสดงภาพจากหน้าจออินโฟเทนเม้นท์ได้บนหน้าจอนี้ เช่น Off Road Monitor ทั้งองศาการหักเลี้ยวของมุมล้อ, องศาการหมุนพวงมาลัย ที่จะทำงานร่วมกับกล้อง 360 องศา เพื่อให้การขับขี่ในเส้นทางออฟโร๊ดทำได้อย่างคล่องตัวและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ด้วยความที่ Mercedes-Benz GLC เป็นรถรุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของค่าย
จึงไม่แปลกหากเราจะเห็นความหลากหลายในการทำตลาดถึง 6 รูปแบบเครื่องยนต์ ทั้งเบ็นวิน, ดีเซล และปลั๊กอินไฮบริด แต่หากคาดการณ์ความเป็นไปได้ในการทำตลาดและประกอบในบ้านเรา รุ่นที่มใีความเป็นไปได้มากที่สุดในระยะแรก คงหนีไม่พ้น Mercedes-Benz GLC 220d ที่มาพร้อมเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ 2.0 ลิตร ให้กำลัง 200 แรงม้า พร้อมแรงบิด 440 นิวตัน-เมตร เสริมกำลังด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าในรูปแบบ Integrated Starter-Generator ขนาด 48 โวลต์ ที่ช่วยเพิ่มกำลังในระยะสั้นอีก 23 แรงม้า กับ 200 นิวตัน-เมตร จับคู่กับชุดเกียร์ 9G-Tronic และขับเคลื่อน 4 ล้อ 4MATIC นั่นคือ ตัวเลือกแรกที่มีความเป็นไปได้ว่าน่าจะ “มาแน่”
ส่วนอีกตัวเลือกนั้น เป็นความก้ำกึ่งที่ยากจะเดาใจว่าทาง Mercedes-Benz จะเลือกเดินทางไหน (หรืออาจจะเลือกเดินทั้ง 2 รูปแบบ) นั่นก็คือ เวอร์ชั่นที่เป็นปลั๊กอินไฮบริด ซึ่งการมาของ Mercedes-Benz GLC ในรูปแบบ PHEV ในครั้งนี้ ถือว่ามีความหลากหลายและยกระดับสมรรถนะให้สูงขึ้นอย่างน่าสนใจ โดยระบบมาพร้อมแบตเตอรี่แพคขนาด 31.2 kWh ที่รองรับการใช้งานใน EV Mode ได้ได้ถึง 120 กม. (WLTP) และรองรับการชาร์จแบบ Quick Charge ด้วยกำลังไฟสูงสุด 60 kW ซึ่งช่วยให้การชาร์จจาก 0-80% ทำได้ภายใน 30 นาที (การชาร์จแบบปกติรองรับกำลังไฟ 11 kW) โดยเป็นการจับคู่ทั้งเครื่องยนต์ในรูปแบบเบ็นซินและดีเซล ซึ่งหากคาดการณ์ความเป็นไปได้ในตลาดเมืองไทย ออพชั่นแรกคือ Mercedes-Benz GLC 300e ที่มาพร้อมเครื่องยนต์เบนซิน ขนาด 2.0 ลิตร เทอร์โบ 204 แรงม้า แรงบิด 320 นิวตัน-เมตร จับคู่มอเตอร์ 136 แรงม้า 440 นิวตัน-เมตร ทำกำลังรวมที่ 313 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 550 นิวตัน-เมตร จับคู่กับเกียร์ 9G-Tronic ขับเคลื่อน 4 ล้อ 4MATIC
ส่วนอีกแนวทางที่หลายคนคงลุ้นให้เป็นไปก็คือ Mercedes-Benz GLC 300de
ดีเซลปลั๊กอินไฮบริดอันเป็นการผสานกำลังระหว่างเครื่องยนต์ ดีเซล 2.0 ลิตร 200 แรงม้า กับแรงบิด 440 นิวตัน-เมตร ทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้า 136 แรงม้า แรงบิด 440 นิวตัน-เมตร ให้กำลังรวม 335 แรงม้า กับแรงบิดสุดโหด 750 นิวตัน-เมตร จับคู่กับเกียร์ 9G-Tronic ขับเคลื่อน 4 ล้อ 4MATIC เช่นกัน และที่ขาดไม่ได้ คือ ตัวท็อปในรหัส GLC43 4Matic ที่ในเจนเนอเรชั่นปัจจุบันก็มีการทำตลาดในประเทศไทยด้วยรูปแบบตัวถัง Coupe มาเป็นออพชั่นสำหรับคนอยากเสพความเร้าใจ โดยคาดว่าช่วงเวลาในการเปิดตัวที่เมืองไทย อย่างเร็วที่สุดจะเป็นต้น – กลางปี 2023 ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง ก็คงต้องยอมรับว่า Mercedes-Benz GLC เป็นหนึ่งในรถพรีเมี่ยม Compact SUV ที่น่าใช้แบบปฏิเสธไม่ได้เลยทีเดียว