Home » มาสด้าเปิดตัวแนะนำ MAZDA RX-VISION GT3 CONCEPT

มาสด้าเปิดตัวแนะนำ MAZDA RX-VISION GT3 CONCEPT

by Admin clubza.tv

Gran Turismo SPORT

MAZDA RX-VISION GT3 CONCEPT


Gran Turismo SPORT “MAZDA RX-VISION GT3 CONCEPT” Press Kit

มาสด้าได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับ “FIA Gran Turismo Championship” ของเกมการแข่งขันชิงแชมป์ “Gran Turismo SPORT” ที่เล่นบนเครื่อง PlayStation®4 ซึ่งได้รับการผลิตโดยบริษัท Sony Interactive Entertainment พร้อมเปิดตัว “MAZDA RX-VISION GT3 CONCEPT” รถแข่งเสมือนจริงที่ Polyphony Digital ได้ร่วมพัฒนากับมาสด้า ซึ่งผู้เล่นทั่วโลกสามารถทดลองขับได้ในเกม “Gran Turismo SPORT” ได้ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป

“Gran Turismo SPORT” ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากสหพันธยานยนต์นานาชาติ หรือ FIA ในการเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการแข่งขันรถยนต์ในโลกออนไลน์อย่างเป็นทางการ การที่ได้รับการสนับสนุนและเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับ “FIA Gran Turismo Championship” ทำให้มาสด้าได้รับการยืนยันในการเข้าร่วมการถ่ายทอดสด World Tours 2020 ซึ่งะจัดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งผู้เล่นในเกมที่ใช้รถยนต์มาสด้า เช่น RX-VISION GT3 CONCEPT จะได้รับโอกาสในการเข้าร่วมในรายการ World Final อีกด้วย

มาสด้ามุ่งหวังที่จะขยายกลุ่มแฟนคลับด้วยการสร้างความสนุนสนานและสุนทรียศาสตร์ในการขับขี่ ไปยังกลุ่มผู้ชื่นชอบใน ดิจิตอล มอเตอร์ สปอร์ต ทั้งนี้ มาสด้าได้พิจารณาถึงแผนการที่จะให้ผู้เล่นบนโลกเสมือนจริงนี้ได้มีโอกาสในการแข่งรถในสนามแข่งขันจริง ด้วยการเข้าร่วมการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ต อีกด้วย เพื่อที่จะเจาะกลุ่มแฟนคลับที่ต้องการสร้างความสนุกสนานในการขับขี่ และต้องการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามอเตอร์สปอร์ตในโลกแห่งความจริงในอนาคตอีกด้วย

*รายการมอเตอร์สปอร์ตที่ได้รับการสนับสนุนโดยมาสด้า

การแข่งขัน Roster Party Race ในประเทศญี่ปุ่นได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง โดยการแข่งขันนั้นได้เริ่มเป็นครั้งแรกในปี 2002 และได้จัดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการแข่งขันรายการ one-make race ที่จัดมายาวนานที่สุดและมีผู้เข้าร่วมการแข่งขันมาแล้วทั้งสิ้นกว่า 5,000 คน (จนถึงพฤษภาคม 2020 สำรวจโดยมาสด้า) สำหรับฤดูกาลแข่งขันในปี 2019 นั้น มีรถเข้าร่วมทั้งสิ้น 120 คันจากทั้งหมด 3 สนาม ซึ่งได้จัดขึ้นที่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น การแข่งขัน Roster Party Race เป็นรายการแข่งขันรูปแบบ one make ที่ทุกคนสามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ด้วยการใช้รถ “Roadster NR-A” เกรดมาตรฐาน ที่ไม่มีการปรับแต่งเครื่องยนต์และขนาด และแบรนด์ของยางจะถูกกำหนดขึ้นเพื่อความยุติธรรม รถจะมาพร้อมกับโครงสร้างเหล็กนิรภัยป้องกันห้องโดยสาร และเข็มขัดนิรภัยเพื่อความปลอดภัยของนักแข่ง และหลังจากสิ้นสุดการแข่งขัน นักแข่งสามารถขับรถกลับด้วยรถที่ลงแข่งได้ ซึ่งทำให้รถคันนี้มีทั้งความสะดวกสบายและความสปอร์ต นอกจากนั้น ถ้าหากรถยนต์มีการชนปะทะกับรถคันอื่นในระหว่างการแข่ง จะได้รับคะแนนเป็นศูนย์ กติกาหลักของการแข่งขันจะให้ความสำคัญมากกับการมีน้ำใจนักกีฬา

สำหรับการแข่งขันในอเมริกานั้น Mazda North American Operations ได้จัดตั้งระบบการแข่งขัน Ladder System โดยนำมาเอามาตรฐานมาจากรายการแข่ง Spec Miata (MX-5 one-make race) ซึ่งได้ริเริ่มในช่วงต้นทศวรรษ 1990 โดยเป็นรายการแข่งขันที่มีนักแข่งยอดฝีมือจากแต่ละภูมิภาคเข้าร่วมเป็นจำนวนมากและแข่งเพื่อไต่ระดับขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้น รายการนี้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันจากทั่วประเทศจำนวนกว่า 10,000 คน การแข่งขันรายการ Global MX-5 Cup นี้เป็นรายการแข่งขันรูปแบบ one-make สำหรับรถ MX-5 เจเนอเรชั่นที่ 4 ได้รับการพัฒนาเป็นการแข่งประเภทกึ่งอาชีพ โดยแข่งที่สนามแข่งทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา

MAZDA RX-VISION GT3 CONCEPT

ภาพรวมรถต้นแบบเสมือนจริง “RX-VISION GT3 CONCEPT” 

RX-VISION GT3 CONCEPT เป็นรถเสมือนจริงที่ใช้ในรายการ Gran Turismo SPORT โดยพัฒนาต่อยอดมาจากคอนเซ็ปต์คาร์ “MAZDA RX-VISION” ซึ่งได้รับการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องไปตามกฏของรถแข่งขัน FIA GT3 โดยเผยโฉมครั้งแรกที่งาน Tokyo Motor Show เมื่อเดือนตุลาคม 2015 รถคันนี้ได้รับการพัฒนาให้มีรูปลักษณ์สวยงามสไตล์รถสปอร์ต ด้วยเครื่องยนต์วางหน้า ขับเคลื่อนล้อหลัง (FR) ที่มาสด้าได้พัฒนาภายใต้การออกแบบ KODO – Soul of Motion หรือจิตวิญญาณแห่งการเคลื่อนไหวอันงดงาม ที่มาพร้อมเครื่องยนต์โรตารี (RE) “SKYACTIV-R” พร้อมถ่ายทอดความเป็นต้นแบบของรถสปอร์ตที่มาสด้าคาดหวังว่าจะนำมาพัฒนาเป็นรถยนต์จริงๆ ในอนาคต

[คุณลักษณะหลักของ RX-VISION GT3 CONCEPT]

  • การออกแบบรถที่มีด้านหน้าที่ยาวและสวยงาม หลังคาหอ้งโดยสารทำให้ได้เปรียบจากหลักแอโรไดนามิกและสามารถเลือกใช้หน้ายางที่กว้างขึ้น
  • การวางเครื่องตรงกลางตัวรถแบบเยื้องมาด้านหน้าและการจัดวางเพลาขับเคลื่อนสำหรับล้อด้านหลัง ทำให้บรรลุเป้าหมายการกระจายน้ำหนักที่ยอดเยี่ยมที่ 48:52 (น้ำหนักต้านทานมากกว่า)
  • ความได้เปรียบด้านแอโรไดนามิกของตัวรถนั้นส่งผลให้การควบคุมเป็นไปอย่างแม่นยำ รวมไปถึงประสิทธิภาพของยาง
  • ตัวรถได้ทำการติดตั้งเครื่องยนต์ 4 โรเตอร์ ภายใต้รหัส “SKYACTIV-R” สร้างพลังแรงม้าได้สูงถึง 570 PS
  • ระบบกันสะเทือนหน้าด้านเป็นแบบอิสระระบบปีกนกคู่ ส่วนด้านหลังได้เลือกใช้ระบบช่วงล่างแบบ Multi-Link 
  • รถ Mazda GTS เป็นรถที่ผ่านข้อกำหนดของ FIA สำหรับการแข่งขันในประเภท GT3 หรือ Gr.3 ซึ่งเป็นคลาสสำหรับรถต้นแบบที่มีคุณลักษณะเฉพาะและสมรรถนะใกล้เคียงกับรถที่จะออกวางจำหน่ายจริงในท้องตลาด  

[คุณลักษณะจำเพาะ]

Length x Width x Height (mm) 4,590 x 2,075 x 1,120

Wheelbase (mm) 2,700

Front and rear tread (mm) 1,720 / 1,760

Vehicle weight (kg) 1,250

Front and rear weight distribution 48:52

Engine type SKYACTIV-R Naturally aspirated 4-rotor engine

Displacement (cc) 2,600

Maximum output (PS / rpm) 570 / 9,000 *

Maximum torque (Nm / rpm) 540 / 7,500 *

Drive system Front engine / rear wheel drive (FR)

Tyres and Wheels Michelin 310 / 700 – 18 

*พละกำลังที่ได้ (แรงม้า) และน้ำหนักอาจเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากในแต่ละสนามจะมีการปรับแต่งเพื่อสมรรถนะที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับการแข่งครั้งนั้น (BOP)

[รายการ FIA GT3]

รายการ FIA GT3 คือการแข่งขันรถยนต์ที่มีพื้นฐานมาจากรถเชิงพาณิชย์ โดยเป็นรถสปอร์ต 2 ที่นั่ง หรือ 2+2 ที่นั่ง ที่ได้ปรับเปลี่ยนเพื่อการแข่งขันและได้รับการรับรองจาก FIA โดยผู้ผลิตรถยนต์หลากหลายค่ายทั่วโลกต่างนำรถเข้าร่วมในการแข่งขัน GT3 Race Car และรายการแข่งรถระดับสากล เช่น GT World Challenge ในยุโรป รายการ IMSA ในอเมริกา ที่ใช้รถ FIA GT3 เป็นโมเดลหลักในการแข่งขัน เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีการแข่งขันรถอีกหลายรายการที่ใช้รถ FIA GT3 ในการแข่งขัน ได้แก่ 24 hours of Daytona, 24 hours of Spa-Francorchamps, 24 Hours of Nurburgring, Bathurst 12-hour, 12 Hours of Sebring และ Suzuka 10 hours สำหรับรถยนต์ที่ใช้ในการแข่งขัน FIA GT3 จะต้องมีใบรับรองจาก FIA และการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์นอกเหนือจากกฎที่ได้ระบุไว้นั้นจะถูกจำกัดอย่างเข้มงวด ยิ่งไปกว่านั้น ผู้จัดการการแข่งขันที่จัดโดย BoP (ความสมดุลของสมรรถนะ) จะระบุกติกาของการปรับแต่งรถ เครื่องยนต์ น้ำหนักรถ และความสูงของรถแต่ละรุ่นไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้การแข่งขันเป็นไปอย่างยุติธรรมที่สุด สำหรับการแข่ง Gran Turismo SPORT นั้นจะมีการออกกฏของการแข่งเองโดยเป็นไปตามประเภท Gr.3


ประวัติการออกแบบ RX-VISION GT3 CONCEPT 

RX-VISION GT3 CONCEPT ได้รับการออกแบบร่วมกันระหว่างมาสด้าและทีมนักออกแบบจาก Polyphony Digital โดยนำรถต้นแบบมาจาก MAZDA RX-VISION ที่ได้รับเลือกว่าเป็น “รถยนต์ต้นแบบที่สวยงามที่สุดประจำปี” ในงาน Festival Automobile International ครั้งที่ 33 ซึ่งจัดขึ้น ณ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเดือนมกราคม 2016 และได้รับเสียงชื่นชมอย่างมากจากผู้คนทั่วโลก

การออกแบบได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี 2019 โดยแบบร่างแรกได้ถูกแสดงในรอบ World Final ของการแข่งขัน FIA Gran Turismo Championship ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศโมนาโกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่ได้ประกาศว่าคอนเซ็ปต์คาร์รุ่นนี้จะถูกเพิ่มเข้ามาในเกม Gran Turismo SPORT ปี 2020 นับตั้งแต่นั้นมา การออกแบบจึงได้เริ่มต้นขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง Polyphony Digital และมาสด้า 

RX-VISION GT3 CONCEPT ได้ถูกออกแบบให้ถูกต้องตามกฏของ FIA GT3 และมีสมรรถนะเป็นไปตามแบบฉบับรถแข่ง โดยที่ห้องโดยสารและประตูยังคงใช้รูปแบบปกติซึ่งเป็นไปตามกฏ GT3 ยางหน้าและหลังมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพื่อรับกับชุดกันชนหน้าแบบ Wide Body และฝากระโปรงหน้าซึ่งมีช่องระบายอากาศขนาดใหญ่ เพื่อช่วยให้การระบายความร้อนในห้องเครื่องมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ทั้งยังเพิ่มสมรรถนะทางอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamic) สำหรับสปอยเลอร์ด้านหน้าจะเพิ่มประสิทธิภาพของระบบระบายความร้อน และเพิ่มแรงกดไปที่ส่วนหน้าของรถ ในขณะที่สปอยเลอร์หลังและแผงจัดระเบียบอากาศใต้ท้องรถจะช่วยเพิ่มแรงกดในส่วนท้าย ทำให้ล้อหลังมีประสิทธิภาพในการยึดเกาะที่สูงขึ้น ในส่วนด้านหน้าของรถได้ถูกออกแบบให้มีชิ้นส่วนให้น้อยที่สุด เพื่อช่วยให้ได้เปรียบทางหลักอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamic) มากขึ้น ทั้งยังส่งผลให้สามารถลดความสูงของตัวรถลง ส่งผลให้เกาะถนนได้ดีขึ้น มีการลดน้ำหนักและจุดศูนย์ถ่วงโดยการถอดชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็นในการตกแต่งภายใน และแทนที่ด้วยวัสดุที่มีน้ำหนัก การออกแบบด้วยหลักการกระจายน้ำหนักแบบ 48:52 หน้า-หลังได้ถูกนำมาใช้เช่นกัน แต่ละฟังก์ชั่นภายในห้องโดยสารถูกจัดเรียงโดยเน้นความสะดวกในการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวงมาลัย ที่ใช้การออกแบบพิเศษที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การตกแต่งภายในของมาสด้าทุกรุ่นได้รับการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับการยศาสตร์ที่ได้รับเสียงตอบรับที่ดี นอกจากนี้ RX-VISION GT3 CONCEPTยังให้ความสำคัญกับแง่มุมต่างๆ เช่นรูปทรงของเบาะนั่ง ตำแหน่งที่นั่ง การจัดวางคันเร่งและทัศนวิสัยในระหว่างการขับขี่ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ธรรมดาหรือรถแข่งเสมือนจริง มาสด้าได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบตามหลักปรัชญา”มนุษย์เป็นศูนย์กลาง” 

เฉกเช่นเดียวกันกับการพัฒนารถยนต์รุ่นอื่นๆ RX-VISION GT3 CONCEPT ได้เริ่มแบบร่างในแต่ละองค์ประกอบตามด้วยการขึ้นแบบ 3D บนคอมพิวเตอร์ และค่อยใส่รายละเอียดของรถในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งรถเสมือนจริงคันนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และทำให้เป็นจริงด้วยเทคโนโลยีด้านงานศิลปะจาก Polyphony Digital

[สารจากผู้ออกแบบ]

หัวหน้าทีมออกแบบ RX-VISION GT3 CONCEPT 

Mazda Motor Corporation 

Design Division Advanced Design Studio

โนริฮิโตะ อิวาโอะ

เริ่มเข้ามาร่วมงานกับมาสด้าในปี 1993 ในฐานะผู้ออกแบบรถอเนกประสงค์ CX-5 และ CX-3 และได้ทำงานเกี่ยวกับรถยนต์สำหรับแสดงและรถยนต์ต้นแบบ เมื่อครั้งที่เขาทำงานที่ Mazda Design Studio ในอเมริกาเหนือเป็นเวลา 3 ปีตั้งแต่ 2012 นั้น เขาได้ดูแลการออกแบบของรถต้นแบบเสมือนจริง LM55 หลังจากนั้นจึงได้ทำงานเป็นหัวหน้าทีมออกแบบคอนเซ็ปต์คาร์ MAZDA RX-VISION ปี 2015 คอนเซ็ปต์คาร์ MAZDA VISION COUPE ในปี 2017 และ RX-VISION GT3 CONCEPT ตามลำดับ

เราได้ออกแบบรถให้มีความงดงามและมีความเร็วที่สุดตามฉบับของรถแข่ง GT3 โดยมีพื้นฐานจากรถสปอร์ตต้นแบบ FR-sport concept MAZDA RX-VISION ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “รถต้นแบบที่สวยที่สุดแห่งปี” ที่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อเดือนมกราคม 2016 รถคันนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยให้ความสำคัญกับการออกแบบภายนอก เรามุ่งที่การลดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นและคงไว้ซึ่งความงามที่ใช้สอยได้ เราออกแบบด้วยจิตวิญญาณโดยไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะนำมาผลิตรถจำนวนมากเพื่อการพาณิชย์ แต่เราต้องการให้เป็นรถต้นแบบที่มีความผสมผสานของรถแข่งเสมือนจริง ในครั้งนี้ การออกแบบทั้งภายนอกและภายในของมาสด้านั้น ได้ออกแบบร่วมกับนักออกแบบจาก Polyphony Digital เพื่อสร้างรถที่เกิดจากจิตวิญญาณแห่งการผสมผสานที่ลงตัว

ปรัชญามนุษย์เป็นศูนย์กลางนั้นเป็นพื้นฐานของรถยนต์มาสด้า โดยเริ่มจากขั้นแรกของการออกแบบที่สำนักงานใหญ่ด้านการออกแบบ เริ่มจากไดเรกเตอร์ ซึ่งที่นั่นเต็มไปด้วยผู้คนที่หลงใหลรถยนต์ และมีหลายคนที่คุ้นเคยกับรายการ Gran Turismo และมอเตอร์สปอร์ต ดังนั้น เราจึงได้เริ่มการออกแบบโดยปรึกษาจากผู้ที่คุ้นเคยเหล่านี้ เกี่ยวกับเรื่องรายละเอียดของรถที่เหมาะสำหรับการใช้ในการแข่งขัน และออกแบบให้สามารถแข่งได้จริงในสนามแข่งได้ เราได้ออกแบบเพื่อรักษาความสมดุลระหว่างความงามของรูปลักษณ์และสมรรถนะของรถแข่ง รวมถึงให้เป็นไปตามกฏของการแข่งขันด้วยความระมัดระวัง ผมต้องขอขอบคุณทีมงาน Polyphony Digital ทุกท่านที่ได้ทำงานร่วมกันและได้ปรับปรุงรถในส่วนต่างๆ ให้เป็นไปตามคำขอของเราได้ จนในที่สุด เราสามารถสร้าง RX-VISION GT3 CONCEPT ออกมาตามต้นแบบรถในอุดมคติในโลกเสมือนจริง และรถคันนี้จะได้แข่งขันในเกมรายการ Gran Turismo SPORT ซึ่งผมหวังว่านักแข่งทั่วโลกจะชื่นชอบในการขับขี่รถคันนี้

 [RX-VISION GT3 CONCEPT] 

GRAN TURISMO SPORT

ภาพรวม “Gran Turismo SPORT”

Gran Turismo เป็นเกมการแข่งขันรถที่พัฒนาขึ้นโดย Polyphony Digital สำหรับเล่นบนครื่อง PlayStation® ของ Sony โดยเกมได้ผลิตออกมาครั้งแรกเป็นแผ่น CD-ROM ในปี 1997 และได้รับความนิยมในหมู่ผู้เล่นเป็นอย่างมาก และมีเทคโนโลยีออนไลน์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงได้พัฒนาเป็นเกมการแข่งขันระหว่างผู้เล่นบนโลกออนไลน์ ซึ่งเกมล่าสุด Gran Turismo SPORT ได้ถูกผลิตเพื่อเล่นเฉพาะบนออนไลน์เท่านั้น

รถสปอร์ตยอดนิยมหลากหลายรุ่นจากทั่วโลก ได้ถูกนำมาใช้เล่นในเกม Gran Turismo โดยมีจำนวนกว่า 150 รุ่น ตั้งแต่รถประเภทคอมแพ็ค ซุปเปอร์คาร์ รถแข่ง และรถหรูที่นับว่าเป็นรถที่จัดอยู่ในมอเตอร์สปอร์ต พร้อมกันนี้ รถต้นแบบหลายรุ่นที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้แข่งใน Gran Turismo และเครื่องยนต์ต้นแบบต่างๆ นั้นได้รับการพัฒนาโดยบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และบริษัทตกแต่งรถยนต์

สนามแข่งที่ถูกสร้างในเกมนั้นรวมถึง สนามแข่งตามมาตรฐานและสนามแข่งในเมือง ซึ่งได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องตามเทคโนโลยีการออกแบบขั้นสูง อันรวมถึง สนาม Le Mans, สนาม Circuit de la Sarthe, สนามแข่ง Nürburgring ประเทศเยอรมัน, สนามแข่งในเมือง Monaco’s renowned F1 และสนามแข่ง UK’s Silverstone circuit การแข่งในอเมริกานั้นรวมถึง Indianapolis Speedway สนามที่จัดแข่ง Indianapolis 500 และสนามยอดนิยมเช่น Laguna Seca Raceway ใน California สนามแข่งในญี่ปุ่นในเกมมีทั้ง Fuji Speedway, Suzuka Circuit, Autopolis, Twin Ring Motegi และ Tsukuba circuit

การแข่งขันเกม Gran Turismo SPORT นั้นมีทั้งการขับขี่ การใช้ความเร็ว การเบรค และการควบคุมความมั่นคง ด้วยกันกับฟังก์ชันช่วยขับขี่แบบอัจฉริยะ ที่ช่วยให้ทุกคน ทั้งคนหนุ่มสาว คนสูงอายุ สามารถเล่นเกมนี้ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เล่นยังสามารถปรับเปลี่ยนรถยนต์ที่ตนเลือก เช่น เปลี่ยนยาง ABS การปรับโหมดช่วยคุมการขับขี่ หรือการปรับเปลี่ยนอื่นๆ เช่น ความสูงของตัวรถ และค่าความแข็งของสปริง ความเสมือนจริงของเกมนี้ใกล้เคียงกับการขับขี่ในสนามจริง อย่างเช่น สนาม Le Mans หรือ Nürburgring โดยนักแข่งสามารถที่จะใช้ Gran Turismo Sport เพื่อจำลองการซ้อมในแต่ละสนามก่อนที่จะทำการแข่งขันจริง แต่ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมนักที่ผู้ผลิตรถยนต์จะมาใช้เกม Gran Turismo เพื่อเป็นโปรแกรมในการพัฒนานักแข่งออกมาในโลกแห่งความเป็นจริง เราอาจพูดได้ว่า Gran Turismo SPORT ไม่ได้เป็นแค่เกมที่วัยรุ่นใช้เล่นที่บ้าน แต่คือการขับขี่เสมือนจริงที่ใช้สำหรับเรียนรู้การขับรถเพื่อแข่งขันและเพื่อพัฒนามาแข่งในโลกแห่งความเป็นจริง

FIA GRAN TURISMO CHAMPIONSHIP

ภาพรวม “FIA Gran Turismo Championship”

มีผู้เล่นเป็นจำนวนมากบนเกม Gran Turismo SPORT ที่มีทักษะการขับขี่ที่โดดเด่นและได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ต่างๆ โดย FIA ได้รับรองผู้ที่จบการแข่งขันในระดับสูงจาก Gran Turismo SPORT และยังได้รับรอง Gran Turismo Championship ว่าเป็น FIA World Championship อย่างเป็นทางการตั้งแต่ซีซั่นในปี 2018

มาสด้าได้เป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของการ Gran Turismo โดยทุกคนสามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้จากตัวเลือก”Sport Mode” สำหรับ “Gran Turismo SPORT” บนเครื่อง PS4® ซึ่งผู้เล่นที่ได้เข้าร่วมในการแข่งขันในเกมออนไลน์นี้จะแข่งขันบนสนามในแต่ภูมิภาค เช่น ยุโรป อเมริกาเหนือ เอเซีย โอเชียเนีย และลาตินอเมริกา ผู้ที่เล่นจบการแข่งขันและทำคะแนนได้ในอันดับท็อปสูงสุดภายในฤดูใบไม้ร่วง (ซีกโลกเหนือ) ปีนี้จะได้รับการรับรองว่าเป็น “ผู้เล่นดาวเด่น” ซึ่งจำกัดให้เฉพาะผู้เล่นที่อายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป และผู้ที่ถูกคัดเลือกนี้จะได้เข้าร่วมใน World Tour ซึ่งจัดขึ้นที่สถานที่จัดงานทั่วโลก ได้แก่ ยุโรปและอเมริกา ยิ่งไปกว่านั้น การแข่งขันนี้ประกอบไปด้วย “Nations Cup” ที่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะเป็นตัวแทนของประเทศ/ ภูมิภาค และร่วมการแข่งแบบส่วนบุคคล และในรายการ “Manufacturer Series” ที่นักขับจะแข่งในฐานะตัวแทนของแบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์

มาสด้ามุ่งหวังที่จะเพิ่มจำนวนของผู้เล่นในรายการ “Manufacturer Series” โดยใช้ RX-VISION GT3 CONCEPT และรวบรวมนักแข่งยอดเยี่ยมจาก World Series เพื่อเข้าแข่งในฐานะตัวแทนจากมาสด้าในรายการ World Finals ซึ่งทีมที่ชนะจากรายการ World Final จะได้รับรางวัลในงาน FIA Prize Giving Ceremony ที่จะจัดขึ้นที่โมนาโก ในเดือนธันวาคม 2020

FIA Gran Turismo Championship World Tour (2019)

Logo of the FIA Gran Turismo Championship Manufacturer Series

GRAN TURISMO and MAZDA

ความเป็นมาในการร่วมมือระหว่าง “Gran Turismo” และมาสด้า

รถสปอร์ตมาสด้ารุ่นแรกที่มีให้เลือกสำหรับแข่งบนเกม “Gran Turismo” (PlayStation®) ในปี 1997 นั้น ได้แก่ Eunos Roadster, Eunos Cosmo และ Enfini RX-7 ซึ่งหลังจากนั้น แพลตฟอร์ม PlayStation® และเกม “Gran Turismo” ก็ได้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องและจำนวนรถยนต์มาสด้าก็ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน ใน “Gran Turismo 4” (PlayStation®2) ที่เปิดตัวในปี 2004 นั้นมีรถ “Cosmo Sports” รถคันแรกของมาสด้าที่มาพร้อมเครื่องยนต์โรตารี (RE) นั้นได้รวมอยู่ในการแข่งขันระหว่างประเทศในยุโรปนี้ด้วย และจาก “Gran Turismo 5” ที่วางจำหน่ายในปี 2010 (PlayStation®3) มาสด้า 787B รถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นคันแรกก็ได้รับชัยชนะจากการแข่งขัน “24 Hours of Le Mans” นอกจากนี้ มาสด้า 787B“ โมเดลล่องหน” (ต้นแบบรถยนต์เสมือนจริงพร้อมตัวถังคาร์บอนแบล็ค) ได้เปิดให้เลือกใช้ในเวลาจำกัด ตั้งแต่เดือนมกราคม 2011 อีกด้วย

การทำงานร่วมกันระหว่าง “Gran Turismo” และมาสด้านั้นได้พัฒนาขึ้นไปอีกขั้นตั้งแต่ปี 2014 ตามคำเรียกร้องของผู้พัฒนา Gran Turismo หรือ Polyphony Digital มาสด้าจึงได้เข้าร่วมในโครงการ “Vision Gran Turismo” ซึ่งมีผู้ผลิตรถยนต์จากทั่วทุกมุมโลกเข้าร่วม รถยนต์ MAZDA LM55 VISION Gran Turismo เป็นรถแข่งต้นแบบ LMP1 เสมือนจริงที่สร้างโดยนักออกแบบของมาสด้า ซึ่งได้เปิดให้ดาวน์โหลดเป็นของขวัญวันคริสต์มาสสำหรับแฟน Gran Turismo และแฟน ๆ มาสด้าทั่วโลก โดยรถยนต์รุ่นนี้ใช้การออกแบบตาม “KODO -Soul of Motion” โดยยึดตามแบบ MAZDA 787B และถูกมองว่าเป็น “แบบจำลองที่จะมุ่งหวังที่จะชนะการแข่งขัน 24 Hours of Le Mans ในอนาคต” แบบจำลองขนาดเต็ม 1/1 ของรถแข่งเสมือนจริงนี้ได้ถูกผลิตขึ้นที่งาน Goodwood Festival of Speed ​​(UK) ในปี 2015 และถูกวางแสดงที่อนุสาวรีย์ตรงกลางด้านหน้า Goodwood House พร้อมกับรถโชว์มาสด้า 787B ซึ่งสร้างภาพที่น่าจดจำอย่างแท้จริงสำหรับผู้ที่เข้าร่วม 

“MAZDA6 Gr3” อันเป็นรถพื้นฐานของ MAZDA6 เครื่องยนต์ SKYACTIV-D ที่เปิดตัวใน American Grand-Am GX series ในปี 2013 ได้รับการปรับเปลี่ยนตามกฎระเบียบของ FIA GT3 และปรากฏใน “Gran Turismo SPORT” นับตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมามีผู้เล่นญี่ปุ่นจำนวนมากได้เข้าร่วมแข่งขัน“ FIA Gran Turismo Championship” โดยใช้รถยนต์รุ่นนี้

The full scale model of the LM55 VISION Gran Turismo (2015)

The center monument at  the Goodwood Festival of Speed  (2015)

MAZDA MOTORSPORTS HERITAGE

Mazda Motorsports Genealogy

มาสด้าได้รับการยอมรับว่าเป็นแบรนด์ที่มีรถแข่งที่ใช้ในการแข่งขันกีฬามอเตอร์สปอร์ต โดยเฉพาะในตลาดตะวันตก สมรรถนะความเร็วสูงของเครื่องยนต์โรตารี (RE) ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในรถญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1967 นั้นแสดงให้เห็นถึงความทนทานและความน่าเชื่อถือ และมาสด้าเองก็มีส่วนร่วมในการแข่งขันด้านความทนทานหลายสนามตั้งแต่ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 จนถึงต้นทศวรรษ 70 ซึ่งประสิทธิภาพของรถเครื่องยนต์โรตารี (RE) “Mazda 787B” ได้กลายเป็นรถยนต์ญี่ปุ่นคันแรกที่ได้รับชัยชนะที่ Le Mans (ฝรั่งเศส) ในปี 1991 ทำให้ชื่อเสียงของเครื่องยนต์โรตารีที่มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมจนกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

[รถแข่งเครื่องยนต์โรตารีในยุโรป]

ไม่นานหลังจากที่ Cosmo Sport (ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์โรตารี 10A) ได้เปิดตัวไปนั้น มาสด้าได้เข้าร่วมการแข่งขัน “Marathon de la Route” (Nurburgring, เยอรมนี) ในปี 1968 ในการแข่งขันที่ท้าทายครั้งแรกนั้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากที่จะสามารถจบการแข่งขันได้ แต่รถมาสด้าก็สามารถเข้าเส้นชัยด้วยอันดับ 4 ซึ่งสร้างความประทับใจอย่างมากให้กับเจ้าหน้าที่ทีมมอเตอร์สปอร์ตในยุโรป ตั้งแต่ปี 1969 นั้น รถ Familia Rotary Coupe (ชื่อการส่งออก R100 Coupe) ถูกนำมาใช้เป็นรถ Touring เพื่อลงแข่งทั่วยุโรป ในการแข่งขัน”24 Hours of Spa Francorchamps” (เบลเยี่ยม) ในปี 1970 นั้น มาสด้าได้ส่งรถ coupes โรตารี Familia Presto จำนวน 4 คันเข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งรถรุ่นนี้คันหนึ่งได้นำคู่แข่งทีม European Powerhouse เป็นเวลาถึง 20 ชั่วโมง ก่อนที่จะแพ้ไปในที่สุดเนื่องจากเกิดปัญหาทางเทคนิค สิ่งนี้ทำให้รถถูกขนานนามว่า “Little Giant” เนื่องจากความสามารถอันโดดเด่นของทีมในการมุ่งสู่เงินรางวัลและยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในตลาดยุโรป นอกจากนั้น ในปี 1981 มาสด้าสหราชอาณาจักรและโรงงานมาสด้าให้การสนับสนุน TWR Racing (UK) RX-7 รุ่นแรกในการเข้าสู่การแข่งขัน 24 Hours of Spa-Francorchamps และประสบความสำเร็จอย่างงดงามด้วยการคว้าชัยชนะมาครองเป็นครั้งแรกของรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นในประวัติศาสตร์การแข่งขัน

[ความสำเร็จของการแข่งขันในญี่ปุ่น]

ตั้งแต่ปี 1971 มาสด้าได้รับความเชื่อมั่นจากการแข่งขันในยุโรปได้ จึงได้ตัดสินใจที่จะมุ่งไปที่การแข่งขัน Touring Car ซึ่งเป็นประเภทการแข่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้น ภารกิจของทีมมาสด้าคือการเอาชนะรถคู่แข่งที่ติดตั้งเครื่องยนต์ DOHC 6 สูบแถวเรียง 2.0 ลิตร ซึ่งในเวลานั้นถูกมองว่าไม่สามารถที่จะเอาชนะได้ หลังจากที่ได้รับชัยชนะจากการไช้เครื่องยนต์โรตารีในรุ่น Capella coupe และ Savanna ในการแข่งขันได้นั้น รายการ Touring car หลายๆ สนามจึงกลายมาเป็นเวทีพิเศษสำหรับการแข่งรถมาสด้าที่ไช้เครี่องยนต์โรตารี ด้วยส่วนประกอบที่น้อยลงและความสะดวกในการปรับแต่งเพื่อเพิ่มพลังขับเคลื่อน รถยนต์มาสด้าเครื่องยนต์โรตารีที่มีความทนทานที่ยอดเยี่ยมและค่าใช้จ่ายต่ำ จึงกลายมาเป็นรถพื้นฐานที่ใช้งานง่ายสำหรับนักแข่งรถรุ่นใหม่ ผู้ขับขี่รุ่นใหม่จำนวนมากที่ขับเคลื่อนมอเตอร์สปอร์ตของญี่ปุ่นในการเข้าสู่ยุคใหม่ตั้งแต่ยุค 80 เป็นต้นและทีมแข่งอิสระ Savannas ก็ได้เข้าร่วมการแข่งขัน Touring Car ซึ่งในบรรดานักแข่งเหล่านี้มีหลายคนที่ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในการแข่งขันระดับนานาชาติ อันได้แก่ การแข่งขัน Formula 1 และ 24 Hours of Le Mans สำหรับในการแข่งนั้น ทีม Savanna สามารถสร้างสถิติชนะ 100 รายการในซีรี่ส์การแข่งขันรถแข่ง Fuji TS ในปี 1976 อีกด้วย

นอกจากการแข่ง Touring Car แล้ว รถยนต์เครื่องโรตารียังดึงดูดผู้ขับขี่จำนวนมากในรายการแข่ง Fuji Grand Champion (GC) อีกด้วย จากการที่มาสด้ามีนักแข่งเซ็นสัญญา เช่น Yoshimi Katayama, Yojiro Terada และ Takashi Yorino เข้าร่วมในการแข่งขัน GC นั้น  ทำให้มาสด้าสามารถสร้างนวัตกรรมทางเทคนิคที่หลากหลาย ซึ่งต่อมาได้เป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนารถยนต์กลุ่ม C ที่จะแข่งขันใน 24 Hours of Le Mans

Savanna RX-3s at Fuji Speedway (1977)

Fuji Grand Champion car equipped with a 13B engine (1978)

[เครื่องยนต์โรตารีในการแข่งขันรายการ IMSA]

ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 รถยนต์มาสด้า เครื่องยนต์โรตารีได้รับการแนะนำสู่ตลาดอเมริกาเหนือและได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันไม่นานหลังจากนั้น จึงทำให้ยอดขายต้องซบเซาลง อย่างไรก็ตามเมื่อ RX-7 รุ่นแรก (รู้จักกันในชื่อ Savanna RX-7 ในญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นรถสปอร์ต 2+2 ที่นั่งที่มีด้านหน้าแบบ Slant Nose อันเป็นเอกลักษณ์ของรถเครื่องยนต์โรตารีได้เปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคม 1978 นั้น ทำให้สามารถก้าวผ่านวิกฤติและสามารถสร้างชื่อเสียงจากการแข่งขันอันเลื่องชื่อในรายการ “24 Hours of Daytona ซึ่งจัดโดย IMSA (International Motor Sports Association”  ได้ทำให้มาสด้าโดดเด่นต่างจากคู่แข่ง ทีมงานมาสด้าและมาสด้าอเมริกาเหนือได้เปิดตัว IMSA GTU (รถสปอร์ต 2.0L หรือน้อยกว่า) ของรุ่น RX-7s ที่ Daytona ในปี 1979  และประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่งด้วยการจบการแข่งขัน 1-2 ในประเภท GTU ซึ่งข่าวนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วสหรัฐอเมริกาเกือบจะทันที และไม่เพียงแค่มีนักแข่งมือสมัครเล่นจำนวนมากเลือกใช้ RX-7 เท่านั้น แต่ทีมชั้นนำและบริษัทผู้ปรับแต่งรถยนต์จำนวนมากในสหรัฐอเมริกาก็เริ่มแข่งขันเพื่อชัยชนะโดยการปรับแต่ง RX-7  ให้ตรงตามข้อกำหนดการแข่งขัน ซึ่งเป็นผลให้รถเครื่องยนต์โรตารีได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยรถ RX-7 ได้ใช้ในการแข่งขันชิงแชมป์ในรายการ IMSA GTU ต่อเนื่องเป็นเวลา 8 ปี ตั้งแต่ปี 1980 และได้รับชัยชนะติดต่อกันถึง 12 ปี ที่รายการ “24 Hours of Daytona”  ระหว่างปี 1982 และ 1983 นอกจากนั้น ในปี 1990 RX-7 GTO ที่ใช้เครื่องยนต์โรตารีแบบ 4 โรเตอร์ ได้ถูกทำการบันทึกว่าเป็นรถแข่งโฉมเดียวที่ได้รับชัยชนะครบ 100 ครั้งในการแข่งขันภายใต้ IMSA

[การแข่งขัน 24 Hours of Le Mans] 

ในปี 1970 รถมาสด้าเครื่องยนต์โรตารีได้เข้าแข่งขันรายการ 24 Hours of Le Mans รายการที่ได้ขึ้นชื่อว่าแข่งขันในเรื่องของความทนทานของรถยนต์ระดับโลก ทีมแข่งอิสระเบลเยียมเข้าแข่งขันโดยใช้มาสด้า Chevron B16 ที่มาพร้อมเครื่องโรตารี 10A แบบวางกลางลำตัว ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการติดตั้งเครื่องยนต์โรตารีในรถต้นแบบเพื่อการพาณิชย์ แต่ในช่วงแรกของการแข่งขันนั้นได้ถูกให้ออกจากสนามแข่งเนื่องจากเกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิค ในปี 1974 นั้น มาสด้า ออโต้ โตเกียว หรือทีมผู้จำหน่ายมาสด้าญี่ปุ่น ลงแข่งด้วยรถสปอร์ต 2 ที่นั่งที่มาพร้อมเครื่อง 12A แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้เกิดปัญหาภายหลังจึงไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ ซึ่งเหตุการณ์นี้เป็นแรงผลักดันให้เกิดทีมแข่งมาสด้าอย่างเป็นทางการ “มาสด้า ออโต้ โตเกียว” (ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนเป็น “Mazdaspeed”) พัฒนารถยนต์ที่ได้ปรับเปลี่ยนจากรถ RX-7 เจเนอเรชั่นแรก และเริ่มเข้าแข่งขันที่ Le Mans อีกครั้งตั้งแต่ปี 1979 แต่อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จไม่สามารถได้มาอย่างง่ายดายนัก พวกเขาต้องรอถึงปี 1982 จึงสามารถจบการแข่งขันเป็นครั้งแรกได้ เมื่อครั้งที่ Mazdaspeed ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปีต่อมา รถต้นแบบใหม่ “Mazda 717C” ได้รับชัยชนะจาก Group C Junior Class ที่ Le Mans ในปี 1983 ในขณะที่เครื่องยนต์ 3 โรเตอร์ ได้ถูกพัฒนาโดยมาสด้าตั้งแต่ปี 1986 นั้น ในปี 1988 ทีมจึงได้เริ่มการแข่งขันด้วยเครื่องยนต์ 4 โรเตอร์ ในการแข่งขัน 24 Hours of Le Mans ที่จัดขึ้นที่ Circuit de la Sarthe ในปี 1989 เครื่องยนต์ 4 โรเตอร์นั้นจบการแข่งขันด้วยอันดับที่ 7, 9 และ 12 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของเครื่องยนต์โรตารีของมาสด้า อย่างไรก็ตาม การชนะการแข่งขันยังคงเต็มไปด้วยความยากลำบาก แต่ด้วยความพยายามอย่างสุดความสามารถจากผู้บริหารในทีมพัฒนาของมาสด้าในขณะนั้น ได้กล่าวว่า “เป้าหมายของเราคือการได้รับชัยชนะจากการแข่งขันที่ Le Mans” ทำให้เกิดเป็นแผนพัฒนาสมรรถนะเครื่องยนต์จากวิศวกรผู้พัฒนา โดยทีมพัฒนาของ Mazdaspeed และมาสด้า จึงได้ทำงานร่วมกันในการพัฒนารถยนต์นี้ จึงเกิดมาเป็น Mazda 787B ในการแข่งปี 1991 ที่ “24 Hours of Le Mans” เป็นปีสุดท้ายที่เครื่องยนต์โรตารีสามารถลงแข่งในสนาม Le Mans อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนกฎการแข่งขัน โดยรถ Mazda 787B สามารถแข่งขันโดยไม่มีปัญหาใดๆ และกลายเป็นรถยนต์ญี่ปุ่นเพียงแบรนด์แรกที่ชนะการแข่งขันสุดทรหดรายการนี้ได้

[มาสด้ามอเตอร์สปอร์ตเริ่มเป็นที่นิยมในอเมริกา]

เมื่อเข้าสู่ปี 2000 มาสด้ามอเตอร์สปอร์ตที่ได้ขาดความต่อเนื่องไปชั่วคราว ได้กลับมาสร้างชื่ออีกครั้งในอเมริกาเหนือ จากความสำเร็จของ RX7 และจากการเติบโตของ Miata (แข่งขันกับ MX5) รถ RX-8 GT ที่มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 20B 3 โรเตอร์ ได้ถูกนำมาใช้แข่งขันรายการ Grand-Am ซึ่งตอนนี้รวมการแข่งอันเลื่องชื่อรายการ 24 Hour of Daytona เข้าไว้ด้วยกัน รถ RX8 GT ได้รับชัยชนะระดับ GT ในการแข่งขัน Daytona ในปี 2008 และ 2010  ทำให้จำนวนรถ RX-8 GTs ที่ใช้แข่งจึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และกลายเป็นรถที่ใช้กันส่วนใหญ่ในปี 2010 รถ RX-8 GT ยังได้เข้าแข่งขัน Grand-Am GT Series Championship แต่อย่างไรก็ตามหลังจากหยุดการผลิต RX-8 ไปในปี 2012 รถจึงได้ถูกถอดออกจากการแข่งขัน และแทนที่ด้วย Mazda6 Skyactiv-D เครื่องยนต์เทอร์โบดีเซล และรถรุ่นนี้จึงได้กลายเป็นแชมป์ระดับ Grand-Am GX 2013

ในปี 2014 รายการแข่งขัน Grand-Am ได้ถูกรวมเข้ากับการแข่ง America Le Mans ทางมาสด้าอเมริกาจึงส่งรถต้นแบบเข้าร่วมการแข่งขันรูปแบบใหม่ของ IMSA (International motor sport association) ที่มีชื่อรายการว่า USCC (United Sports car Championship) ซึ่งเป็นหมวดที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ของ IMSA และเป็นประเภทการแข่งขันระดับท็อปของรายการ ซึ่งในปี 2015 นั้น ทีมลงแข่งด้วยรถที่ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบ 2 ลิตร 4 สูบแถวเรียง แต่แล้วในฤดูกาลแข่งปี 2017 ได้มีการบังคับใช้กฎระเบียบใหม่ พวกเขาจึงนำรถ”Mazda RT24-Ps” ที่ออกแบบตาม KODO-Soul of Motion เข้าสู่การแข่งขัน และในปี 2019 จากการแข่งขัน IMSA WeatherTech Sports Car Championship ซึ่งจัดทั่วทั้งสหรัฐอเมริกานั้น ทีมได้ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกและได้รับชัยชนะติดต่อกันสามครั้งหลังจากนั้น จึงทำให้พวกเขากลายเป็นหนึ่งในทีมแข่งชั้นนำของรายการ

********************************************************

ติดตามข่าวสารขับซ่าได้  ที่นี่
ชมรายการขับซ่า34 ย้อนหลังได้  ที่นี่ 


ข่าวแนะนำ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา ยอมรับ เรียนรู้เพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy