หากพุดถึงรถยนต์คคลาสที่มีการแข่งขันกันมากที่สุดในยุคปัจจุบัน คงไม่มีรถในกลุ่มใดๆ ที่จะคึกคักไปกว่ารถในสไตล์ SUV B-Segment ซึ่งแต่ละแบรนด์ทั้งญี่ปุ่นและจีน ต่างก็ส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาลุยตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยบางค่ายนั้นไม่ได้มาแค่รุ่นเดียว แต่ยังมีหลากหลายรุ่นย่อย หลากหลายสไตล์ให้เลือก เช่น ทางฝั่ง Toyota ที่จัดเต็มทั้งรถในฝั่งครอบครัวอย่าง Toyota Corolla Cross และครอสโอเวอร์สไตล์สปอร์ตอย่าง Toyota CH-R ในทำนองเดียวกัน ค่าย MG ก็มีตัวเด็ดอย่าง MG ZS และ ZS EV ที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้ได้แตกต่างกันออกไป ช่วยเติมความคึกคักในกลุ่ม SUV B-Segment ได้มากยิ่งขึ้น
แบรนด์ Mazda ก็เช่นกัน ถือเป็นอีกหนึ่งค่ายที่มีการทำตลาดรถยนต์ในรูปแบบ SUV B-Segment ด้วยกันถึง 2 รุ่น เริ่มตั้งแต่ Mazda CX-3 ที่ประเดิมทำตลาดและสามารถทำยอดขายได้อย่างน่าประทับใจจวบจนปัจจุบัน แม้ว่าในระยะหลังจะถูกแชร์ส่วนแบ่งไปจาก Mazda CX-30 พี่น้องร่วมค่ายในคลาส SUV B-Segment ที่มีความสดใหม่ รวมถึงดีไซน์ที่ดูหรูหรา โดนใจมากกว่า แต่นั้้นอาจจะยังไม่เพียงพอที่จะหยุดความร้อนแรงของ Mazda CX-3 ลงได้ แม้ว่าอาจจะไม่ใช่รถที่ระดับความนิยมเป็นอันดับ Top 3 ในคลาส SUV B-Segment แต่ก็ถือว่า Mazda CX-3 เป็นรุ่นที่มียอดขายและการเติมโตที่สูงที่สุดของค่าย Mazda เลยทีเดียว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น…#ทีมขับซ่า จะพามาไล่เรียงเป็นข้อๆ ดังนี้
นอกจากเรื่องภาพลักษณ์…ประการแรกของความแตกต่างระหว่าง Mazda CX-3 และ Mazda CX-30 คงหนีไม่พ้นเรื่องของขนาดตัวถัง ที่รุ่นพี่อย่าง CX-30 นั้น มีขนาดที่ใหญ่กว่าพอสมควร ด้วยจุดประสงค์การพัฒนาให้ตัวรถมาในไซน์ที่แทรกกลางระหว่าง Mazda CX-3 และรุ่นนพี่อย่าง CX-5 ซึ่งด้วยขนาดที่มีความแตกต่างกันนั้น ส่งผลต่อสิ่งที่จะตามมาในหลายๆ ด้าน เช่น พื้นที่ใช้สอยภายในห้องโดยสาร โดยในจุดนี้ เป็นทางฝั่งรุ่นพี่ Mazda CX-30 ที่ทำออกมาได้ดีกว่าอย่างชัดเจน ทั้งเรื่องความกว้าง รวมถึงระยะฐานล้อที่ช่วยเพิ่ม Leg Room ภายในห้องโดยสาร ส่วนอีกสิ่งหนึ่งที่ขนาดตัวถังมีผลก็คือ น้ำหนักตัวรถที่ส่งผลต่อฟีลลิ่งการขับขี่ โดยมีความต่างกันอยู่ถึง 120 กก. เมื่อเทียบกับ Mazda CX-3 และ Mazda CX-30 ในรุ่น Top ด้วยกัน
ถือว่า Mazda ทำการบ้านมาได้ดี สำหรับการแก้เกมการตลาดในรถรุ่นปี 2022 โดยการเพิ่มออพชั่น ปรับระดับราคาให้เหมาะสม เพื่อที่จะจูงใจลูกค้าใหม่ๆ ของตัวเอง ซึ่งงานนี้ทั้ง Mazda CX-3 และ Mazda CX-30 ต่างก็ได้รับอานิสงส์จากการปรับรายระเอียดในครั้งนี้ด้วยทำให้ความแตกต่างของทั้ง 2 รุ่นนี้ ดูมีช่วงห่างที่น้อยลงอย่างน่าสนใจ โดยสิ่งที่รุ่นพี่อย่าง Mazda CX-30 มีมากกว่า คือ หน้าจอแสดงผลการขับขี่ที่มีความยืดหยุ่นในการแสดงผลกว่า, หน้าจออินโฟเทนเม้นท์ขนาดใหญ่กว่า และชุดเครื่องเสียงจาก Bose แบบ 12 ลำโพง ในส่วนของระบบปรับอากาศ ใน Mazda CX-30 เป็นแบบอัตโนมัติ Dual Zone พร้อมช่องแอร์ด้านหลัง แต่จะมาเสียเปรียบรุ่นน้อง CX-3 ที่จะไม่มี Wireless Charge มาให้ ก่อนจะไปเอาคืนได้เบาๆ ที่ฝาท้ายไฟฟ้า
ระบบความปลอดภัยของทั้ง Mazda CX-3 และ Mazda CX-30
ถือว่าทั้งคู่จัดสรรค์พื้นฐานที่ดีมาให้อย่างน่าสนใจ โดยเฉาพะการมาพร้อมกล้องมองรอบทิศทาง 360 องศา พร้อมกับเซ็นเซอรืช่วยกะระยะ ซึ่งช่วยเพิ่มความสะดวกในการขับขี่ในพื้นที่จำกัดได้ไม่น้อย โดยสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาใน Mazda CX-30 ก็คือ กระจกมองข้างที่เป็นแบบ Reverse Link ซึ่งจะปรับองศาลงมาให้เห็นในมุมมองที่กว้างในขณะถอยหลัง, ระบบ Cruise Control แบบแปรผัน พรน้อมระบบควบคุมพวงมาลัยตามรถคันหน้า, ระบบเตือนรถทางด้านท้ายที่มีการเพิ่มระบบเบรกอัตโนมัติเมื่อมีความเสี่ยงต่อการชนทั้งด้านท้ายและด้านหน้าเข้ามา, ระบบปรับลำแสงของไฟหน้าตามการเลี้ยวโดยอัตโนมัติ รวมถึงการเพิ่มถุงลมนิรภัยที่เข่าของผู้ขับขี่ รวม 7 ใบ
ตามความเข้าใจของหลายๆ คน คือ Mazda CX-3 และ Mazda CX-30 มาในเครื่องยนต์บล็อคเดียวกัน แต่อันที่จริงแล้ว ทาง Mazda ให้รายละเอียดในการปรับจูนเครื่องยนต์ที่ต่างกัน โดยทางฝั่งรุ่นพี่ Mazda CX-30 แม้จะใช้เครื่องยนต์ที่มีอัตราส่วนกำลังอัดที่ต่ำกว่า แต่สามารถทำแรงม้าได้สูงกว่า Mazda CX-3 อยู่ถึง 9 ตัว ในรอบเครื่องยนต์เดียวกัน แต่ทางฝั่ง Mazda CX-3 ก็ได้เปรียบในเรื่องแรงบิดที่มาในรอบต่ำกว่า ซึ่งเมื่อจับคู่กับเฟืองท้ายที่มีอัตราทดที่สูงมากกว่า (และใช้ยางซีรีส์ต่ำกว่า ซึ่งส่งผลให้เส้นรอบวงของยางน้อยกว่า) ก็ยิ่งช่วยส่งให้ตัวรถ Mazda CX-3 มีความจัดท้านมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังแบกน้ำหนักเบากว่าถึง 120 กก. อีกด้วย นั่นจึงเป็นที่มาของความได้เปรียบในเรื่องอัตราเร่งตามตารางด้านล่าง
จากตารางเปรียบเทียบอัตราเร่งระหว่าง Mazda CX-3 และ Mazda CX-30
ด้วยเครื่องมือ V Box Sport โดย #ทีมขับซ่า จะพบว่า…ตั้งแต่ในช่วงออกตัว เป็นทางฝั่ง Mazda CX-3 ที่แม้จะมีกำลังและแรงบิดที่ด้อยกว่า แต่กลับออกตัวและทำอัตราเร่งนำไปก่อนในทุกย่านความเร็ว โดยอัตราเร่งในช่วงความเร็วหยุดนิ่ง จนถึง 100 กม. มีความต่างกันอยู่ราว 0.37 วินาที จนถึงระยะควอเตอร์ไมล์ ที่ทำได้ระหว่าง 17.26 และ 17.58 วินาที ก่อนจะค่อยๆ ยืดเป็น 0.5 – 0.6 วินาที ในช่วงความเร็วปลายๆ โดยสิ่งที่ Mazda CX-30 ทำได้เหนือกว่า คือ ความเร็วในช่วงปลาย เนื่องจากการใช้เฟืองท้ายที่มีอัตราทดต่ำกว่า, ยางที่มีซีรีส์ความสูงเยอะกว่า จับคู่กับเครื่องยนต์ที่มีกำลังมากกว่า ซึ่งมากพอที่จะสร้างกำลังการขับเคลื่อนที่มีความแตกต่างได้ในช่วงความเร็วสูงสุด
แม้จะเป็นเครื่องยนต์ที่มาในรูปแบบเบ็นซิน 2.0 ลิตร เพียวๆ ตามความตั้งใจของ Mazda ที่จะคงคอนเซ็ปท์การตอบสนองในสไตล์ของเครื่องยนต์สันดาปเอาไว้ แต่อัตราสิ้นเปลืองของทั้ง Mazda CX-3 และ Mazda CX-30 กลับไม่ได้มีตัวเลขอยู่ในระดับที่เลวร้าย โดยเฉพาะหากนำไปเทียบกับคู่แข่งในพิกัด SUV B-Segment บางแบรนด์ ที่ทำได้ใกล้เคียงกัน ทั้งๆ ที่มาในรูปแบบไฮบริด ซึ่งด้วยน้ำหนักของตัวรถ รวมถึงการวางอัตราทดเฟืองท้าย ทำให้อัตราสิ้นเปลืองของ Mazda CX-3 และ Mazda CX-30 ออกมาต่างกันเล็กน้อย ตามข้อมูลในตาราง
ปัจจัยอื่นๆ ที่ข้อมูลในสเป็คไม่สามารถตอบได้ ก็คือ เรื่องของฟีลลิ่งการขับขี่ ในภาพรวมนั้น ทั้ง Mazda CX-3 และ Mazda CX-30 ต่างก็พยายามเซ็ตคาแร็กเตอร์ของตัวรถมาให้สามารถขับขี่ได้อย่างสนุกสนาน ด้วยการตอบสนองของเครื่องยนต์และช่วงล่างที่ให้ความเฉียบคมในการใช้งาน แต่หากในความเป็นจริงแล้ว รถทั้ง 2 คัน อาจมีวัตถุประสงค์ในการเลือกใช้งานที่แตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการที่ Mazda CX-3 ออกแบบให้มีการตอบสนองแนวสปอร์ต โดยเฉพาะกับฟีลลิ่งของช่วงล่าง จึงดูจะเป็นการรักษาคอนเซ็ปท์ได้ดี ต่างจาก Mazda CX-30 ที่เน้นการใช้งานในรูปแบบครอบครัวมากขึ้น ดังนั้นการแสดงอาการต่างๆ ที่มีความ “ชัดเจน” มากจนเกินไป ดูอาจจะยังไม่ตอบโจทย์สำหรับสำหรับการใช้งานในชีวิตจริง ยิ่งเมื่อเทียบราคาแล้ว ทั้ง Mazda CX-3 และ Mazda CX-30 มีส่วนต่างมากกว่า 300,000 บาท นั่นจึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ผู้ใช้ตัดสินใจเลือก Mazda CX-3 ได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้ที่เน้นการใช้งานเพียงแค่ 1-2 คน แต่หากเทียบกับผู้ที่ต้องการใช้งานในรูปแบบครอบครัวแล้ว ในงบ 1.2 ล้านบาท สำหรับกลุ่ม SUV B-Segment ถือว่ามีคู่แข่งที่แข็งแกร่งกว่า รออยู่มากมาย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ตอบได้ง่ายๆ ว่า…ทำไมยอดของ Mazda CX-30 จึงไม่ปังอย่างที่จินตนาการ