ด้วยสภาวะราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นกว่าลิตรละ 50 บาท เช่นนี้ ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลายๆ คน ต่างมองหาทางเลือกใหม่ๆ ด้วยรถในรูปแบบที่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องการใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรถในรูปแบบไฮบริด หรือปลั๊กอินไฮบริด ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีจุดเด่น และข้อสังเกตที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับในยุคปัจจุบัน คงจะไม่มีรถในรูปแบบไหนที่ร้อนแรงและเป็นที่ต้องการไปมากกว่า รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV Car ที่ดูจะเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่มีไลฟ์สไตล์ทันสมัย ที่มักจะมองหาเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ใน “ยุคน้ำมันแพง” ได้อย่างยั่งยืน
ในปัจจุบัน รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV Car ที่มีจำหน่ายอยู่ในบ้านเรานั้น มีอยู่หลายระดับราคา ซึ่งในแต่ละช่วง ก็จะมีสมรรถนะ ฟังค์ชั่นการใช้งาน รวมถึงระยะที่สามารถเดินทางต่อการชาร์จใน 1 ครั้ง แตกต่างกันออกไป แต่กลุ่ม รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV Car ที่ดูจะเป็นที่สนใจมากที่สุด คงหนีไม่พ้นกลุ่มรถในราคาระดับ 1 ล้าน +- ที่ ณ ปัจจุบัน อาจจะยังมีตัวเลือกไม่มากนัก แต่ตัวเลือกที่มีอยู่ก็ถือว่าหลากหลายเพียงพอที่จะตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งล่าสุดเมื่อทางค่าย MG ได้เปิดตัว MG ZS EV รุ่น Minor Change ก็ยิ่งเพิ่มความหลากหลายในตัวเลือกได้มากขึ้น กับ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV Car ในระดับราคา 1 ล้านบาท +- ที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีตัวเลือกและสเป็คดังนี้
สเปคสมรรถนะสำหรับรถ EV ในงบ 1 ล้านบาท +-
รุ่น | พละกำลัง (แรงม้า) | แรงบิด (นิวตัน – เมตร) | ขนาดแบตเตอรี่ (kWh) | ระยะทางที่วิ่งได้ (กม.) NEDC | ราคา (บาท) |
MG ZS EV MC | 177 | 280 | 50.3 | 403 | เริ่ม 949,000 |
Ora Good Cat 400 | 143 | 210 | 47.7 | 400 | เริ่ม 828,500 |
Ora Good Cat 500 | 143 | 210 | 63.1 | 500 | 1,199,000 |
MG EP Plus | 163 | 260 | 50.3 | 380 | 771,000 |
Nissan Leaf | 150 | 320 | 40 | 311 | 1,490,000 |
รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV Car ทุกรุ่น ในราคา 1 ล้านบาท +-
จัดว่าอยู่ในกลุ่มรถในพิกัด Compact ด้วยกันทั้งสิ้น นอกจากเรื่องกลุ่มเป้าหมายและลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไปแล้ว สเป็คโดยรวมในด้านสมรรถนะ ไม่ได้ถือว่าแตกต่างกันมากจนเห็นน้ำเห็นเนื้อ แต่สิ่งที่แตกต่างชัดเจน และเป็นหัวใจที่ผู้บริโภคมักจะนำมาเป็นปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV Car ก็คือ ระยะในการเดินทางต่อการชาร์จ ซึ่งหากมองในเรื่องระยะในการเดินทางอย่างเดียว Ora Good Cat 500 Ultra ดูจะได้เปรียบตรงจุดนี้ เนื่องจากมาพร้อมบตเตอรี่ที่มความจุถึง 63.1 kWh ส่วน Nissan Leaf ที่เป็นรถ EV ที่ออกมาในยุคแรกเริ่ม ก่อนหน้าที่ค่ายคู่แข่งจะเริ่มทำตลาด สเป็คที่ออกมา เมื่อเทียบกับรถในยุคปัจจุบัน จึงดูเป็นรองอย่างชัดเจน
หากลองสังเกตตัวเลขในตาราง จากรถค่ายเดียวกัน ทั้ง MG ZS EV เวอร์ชั่น Minor Change และ MG EP Plus สิ่งที่พอจะอนุมานได้ก็คือ รถทั้ง 2 รุ่นนี้ เลือกใช้แพคแบตเตอรี่ในรูปแบบเดียวกันที่ 50.3 kWh แต่ความน่าสนใจมันอยู่ที่ รถที่ออกมาในยุคที่ใหม่กว่าอย่าง MG ZS EV เวอร์ชั่น Minor Change ดูจะบริหารจัดการการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยแม้ว่าจะมีระดับพละกำลังที่เหนือกว่าทั้งฝั่งแรงม้า และแรงบิด แต่ยังสามารถทำระยะการเดินทางได้ไกลกว่า MG EP Plus ซึ่งก็ช่วยเพิ่มความยืดหยุดในการใช้งานได้มากขึ้น โดยจากตัวเลข 403 กม. ที่เคลมโดยอ้างอิงจากมาตรฐาน NEDC หากเทียบเป็นระยะการเดินทางจริงในย่านความเร็วเดินทางเฉลี่ย 120 กม./ชม. +- ตัวเลขที่แสดงจะต้อง x 0.7 เพื่อให้ออกมาเป็นระยะจริงที่วิ่งได้ (คิดในเงื่อนไขนี้ คือ ประมาณ 280 กม. ซึ่งโดยปกติแล้ว การใช้งาน EV ในความเร็วที่สูง ก็ยิ่งจะสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าที่ความเร็วต่ำ) แต่ในความเป็นจริง การใช้งานรถยนต์นั้นมีหลายรูปแบบ ทั้งในและนอกเมือง ซึ่งสำหรับการขับขี่ในย่านความเร็วที่ต่ำกว่า อัตราการสิ้นเปลืองพลังงาน จะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่านั้น ซึ่งตัวเลขสูงสุดที่ทำได้นั้นเกินกว่า 90% หรือ x 0.9 ของระยะทางที่แสดงไว้ (ยิ่งในกรณีที่ขับขี่ในเมือง หรือใช้ความเร็วต่ำเป็นหลัก ตัวเลขที่ได้ก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย) นั่นเท่ากับว่า ระยะทางการวิ่งสูงสุดอยู่ที่กว่า 360 กม. เลยทีเดียว
เทียบจุดเด่น และข้อสังเกตของรถ EV ในงบ 1 ล้านบาท +-
รุ่น | จุดเด่น | ข้อสังเกต |
MG ZS EV MC | – การปรับโฉมได้อย่างน่าสนใจ – สมรรถนะและความสนุกในการขับขี่ – ความเสถียรของระบบการขับเคลื่อน – ออพชั่นและฟังค์ชั่นการใช้งาน – ระบบ V2L – เครือข่ายจุดชาร์จที่ครอบคลุม | – ราคาที่ยังไม่มีการเปิดเผย – ไม่มีรุ่นแบตเตอรี่ Long Range เป็นทางเลือก |
Ora Good Cat 400 | – การวางระดับราคาที่น่าสนใจ – ตัวเลือกในรุ่นย่อยที่หลากหลาย | – ยังคงมีข้อสงสัยในเรื่องประสิทธิภาพการใช้งานของชุดมอเตอร์ |
Ora Good Cat 500 | -ระยะทางในการขับเคลื่อน -ออพชั่น ฟังค์ชั่นการใช้งานครบ -ระบบช่วยการขับขี่จัดเต็ม | – ยังคงมีข้อสงสัยในเรื่องประสิทธิภาพการใช้งานของชุดมอเตอร์ |
MG EP Plus | – สมรรถนะและความสนุกในการขับขี่ – ความเสถียรของระบบการขับเคลื่อน – การวางระดับราคาที่น่าสนใจ – เครือข่ายจุดชาร์จที่ครอบคลุม | – เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการออพชั่นหรือลูกเล่นใดๆ |
Nissan Leaf | – สมรรถนะที่โดดเด่น – เทคโนโลยี e-Pedal – ความทนทานของชุดมอเตอร์และแบตเตอรี่ | – การวางระดับราคาที่แข่งขันได้ยาก – ความสดใหม่ที่เลยจุดพีค – ระยะในการเดินทางต่อชาร์จ |
ถือว่าเป็นการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น สำหรับ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV Car ทุกรุ่น ในราคา 1 ล้านบาท +- ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกเพื่อให้เกิดประโยชน์และเลือกให้เหมาะกับความต้องการของตัวเองมากที่สุด ในท้ายที่สุดคงไม่มีคำตอบใดๆ ที่จะชัดเจนไปกว่า การได้ไปทดลองขับด้วยตัวเอง เพื่อให้สามารถตอบได้ว่า รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV Car ทุกรุ่น ในราคา 1 ล้านบาท +- คันไหน…เป็นรถที่เหมาะกับเราจริงๆ
ระดับราคาและส่วนต่างของรถ EV ในระดับ 1 ล้านบาท
รุ่น | MG ZS EV MC | Ora GC 400 | Ora GC 500 | MG EP Plus | Nissan Leaf |
ราคา (บาท) | 949,000 | 828,500 | 1,038,500 | 771,000 | 1,490,000 |
ส่วนต่างราคา | +178,000 | +57,500 | +267,500 | – | + 719,000 |
ความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของรถ EV ที่กำลังได้รับความนิยมสูง ณ ปัจจุบัน ทั้งจากค่าย GWM คือ การได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งก็ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยทางฝั่งของ GWM มีการปรับลดราคา Ora Good Cat ทั้ง 3 รุ่นย่อย ลงรุ่นละ 160,500 บาท ส่วนของค่าย MG นั้นจัดหนักด้วยส่วนลดสูงสุดถึง 246,000 บาท สำหรับ MG ZS EV ใหม่ ในรุ่น X ส่วนเพื่อร่วมค่ายอย่าง MG EP มีราคาลดลงจากเดิม 227,000 บาท ส่งผลให้ค่าตัวเริ่มต้นของ MG EP อยู่ที่เพียง 761,000 บาท และเพิ่มเป็น 771,000 บาท สำหรับ MG EP Plus เช่นเดียวกับทางฝั่ง Nissan Leaf ที่มีการปรับราคาลงมาที่ 1,490,000 บาท ซึ่งก็เป็นราคาเดียวกับที่จัดโปรโมชั่นออกมาก่อนหนเานี้
ส่องตลาดรถยนต์ไฟฟ้า EV CAR เมืองไทย คันไหน…น่าโดนในปี 2022 ?