Home » ไขข้อข้องใจ ถึงรถจะมี Airbag แต่ถ้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัย… อาจเจ็บหนัก..อันตรายถึงชีวิต !!!

ไขข้อข้องใจ ถึงรถจะมี Airbag แต่ถ้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัย… อาจเจ็บหนัก..อันตรายถึงชีวิต !!!

by jaded
Airbag

พัฒนาการของรถยนต์ที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน ทำให้รถยนต์ทุกคันย้ำว่าทุกคัน ที่จำหน่ายอยู่ใน ยุโรปของกลุ่มสมาชิก Euro N Cap มี Airbag หรือ ถุงลมนิรภัย พร้อมระบบควบคุมสเถียรภาพการทรงตัวของตัวรถ ติดตั้งมาให้เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน อาจจะเริ่มต้นที่ 1 ลูก บนพวงมาลัยไล่เรียงไปจนถึงระดับ 8-12 ลูกรอบๆห้องโดยสาร

นั่นก็เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการปกป้องผู้โดยสารจากอุบัติเหตุ แต่จากกรณีตัวอย่างหลายๆ กรณี ยังพบว่า หลังจากเกิดอุบัติเหตุผู้โดยสารยังได้รับบาดเจ็บสาหัส จนถึงขั้นเสียชีวิต แม้รูปแบบของการเกิดอุบัติเหตุกรณีดังกล่าว ดูไม่รุนแรงพอที่จะทำให้ผู้โดยสารได้รับอันตรายถึงชีวิต และถุงลมนิรภัยก็ยังทำงานอย่างปกติ แต่สุดท้ายพบว่าบรรดาผู้โดยสารเคราะห์ร้ายเหล่านั้น ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย หน้าที่ของถุงลมนิรภัยจากปกป้องชีวิต จึงเปลี่ยนสภาพไปเป็นอุปกรณ์สังหารชีวิตมนุษย์ไปในทันที

อุปกรณ์ที่เราเรียกกันติดปากว่า Air Bag แต่เมื่อดูชื่ออย่างเป็นทางการของมันแล้วจะเห็นว่า มักมีตัวอักษร SRS ที่ย่อมาจาก  Supplemental Restraint System ซึ่งหมายความว่ามันเป็น ระบบเสริมเพื่อความปลอดภัย !!! ไม่ใช้ระบบหลักซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยปกป้องบริเวณหน้าอกและศรีษะให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเมื่อทำงานร่วมกับเข็มขัดนิรภัย

อวัยวะที่อาจได้รับบาดเจ็บรุนแรงเป็นอันดับต้นๆของผู้โดยสารคือ ใบหน้า ศรีษะ และหน้าอก จากการปะทะอย่างรุนแรงกับถุงลมในจังหวะที่ร่างกายกำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าสวนทางกับถุงลมที่กำลังพุ่งพองตัวออกมาอย่างรวดเร็วและรุนแรง เทียบได้กับความเร็วประมาณ 200 กม./ชม. เลยทีเดียว และเมื่อบวกกับการเคลื่อนที่เข้าปะทะของผู้โดยสารแบบคาดเดาตำแหน่งไม่ได้ เพราะไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย ซึ่งก็เป็นได้ทั้ง มือ, แขน,หน้าอกไปจนถึงใบหน้าและศีรษะ

จากจุดประสงค์ในการออกแบบเพื่อลดแรงกระแทกจากการชนทางด้านหน้าเมื่อเข็มขัดนิรภัยรัดตัวผู้ขับไว้กับเบาะจนนิ่งแล้ว เดิมที่พวงมาลัยอาจยุบตัวเข้ามาในห้องโดยสารแล้วพุ่่งเข้าสู่หน้าอกของผู้ขับขี่ได้ SRS จะทำหน้าที่ลดแรงกระแทกหรือความบาดเจ็มที่อาจเกิดขึ้นนั้น

แต่เมื่อไม่คาดเข็มขัดนิรภัยถุงลมนิรภัยที่ภายในบรรจุโซเดียมเอไซด์ Sodium Azide

ไว้เป็นตัวจุดระเบิดจะสร้างก๊าซไนโตรเจน ก็พร้อมที่จะพุ่งกระแทกผู้โดยสารให้กระเด่งกระดอนไปรอบๆ ห้องโดยสารตามรูปแบบของอุบัติเหตุ บางรายอาจเจ็บหนักมากกว่าเดิม แต่สาหักอาจถึงขั้นพุ่งทะลุกระจกออกมานอกรถได้ ดังนั้นตำแหน่งในการปะทะระหว่างผู้โดยสารกับถุงลมนิรภัยขณะเกิดอุบัติเหตุจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่ใช้คาดเข็มขัดเพียงเพราะ เพื่อไม่ให้โดนตำรวจจับ เท่านั้น

สำหรับในบางกรณีที่รถเกิดอุบัติเหตุแล้วถุงลมนิรภัยไม่ทำงานต้องบอกเลยว่าถุงลมไม่จำเป็นต้องทำงานทุกครั้งที่รถเกิดอุบัติเหตุและเมื่อถุงลมนิรภัยทำงานก็ไม่จำเป็นที่ต้องทำงานทุกลูกที่มีอยู่ในรถเป็นความตั้งใจมากๆของวิศวกรเพราะนั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรจะจ่ายถ้าจุดระเบิดกันทีเดียว 8-10 ลูกค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าบรรจุถุงลมชุดใหม่จะอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่าหลักแสนแน่ๆ

สมมุติว่าเราขับรถคลานตามๆ กันมา เตรียมผ่านสี่แยก รถคันหน้าที่ทำท่าเหมือนจะเร่งผ่านไฟเหลืองไป เกิดเปลี่ยนใจกระเทือบเบรก.. โครม..!!! การชนท้ายจึงเกิดขึ้น กรณีตัวอย่างนี้ วิศวกรได้มีการสร้างเงื่อนไขไว้ใน ECU ถึงการชนที่ไม่ต้องการให้ถุงลมนิรภัยทำงาน เช่น หากความเร็วเมื่อเกิดการชนต่ำกว่าช่วง 16-20 กม.ต่อชั่วโมง หรือเมื่อเซ็นเซอร์รับสัญญาณการชนบริเวณหน้ารถ ที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถวัดระดับความรุนแรงในการปะทะก่อนการสั่งจุดชนวนให้ถุงลมนิรภัยทำงานได้ อีกทั้งในบางครั้ง ตำแหน่งในการปะทะ้เช่น การชนแบบเฉียง การชนแบบเสยขึ้น (ชนเกาะกลางถนน) หรือการชนแบบมุดลง (เสยตูดรถสิบล้อ) ถุงลมนิรภัยก็อาจจะไม่ทำงานได้เช่นเดียวกัน เพราะแรงปะทะผ่องถ่ายมาไม่ถึงตำแหน่งที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ (ในรถแต่ละรุ่นจะแตกตางกันไป) เซ็นเซอร์ และตำแหน่งในการติดตั้งจึงยังต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ให้มีความฉลาดในการตรวจจับสัญญาณ พร้อมๆ ไปกับ มีความ sensitive สูงสุดในการทำงาน

ซึ่งการตัดสินใจให้ถุงลมนิรภัยทำงานหรือไม่ทำงานมาจากการทดสอบชนจริงหลากหลายรูปแบบของทางบริษัทผู้ผลิตข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บเป็น Database เอาไว้ในส่วนควบคุมเพื่อการประมวลผลก่อนตัดสินใจสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปของสมองกลด้วยเป้าหมายหลักคือถูกต้องแม่นยำและให้ความปลอดภัยกับผู้โดยสารได้มากที่สุด

แต่ในการเกิดอุบัติเหตุทุกครั้งถุงลมนิรภัยจะช่วย.. หรือจะซ้ำเติม.. ก็อยู่ที่คุณจะเลือก ว่าจะคาดเข็มขัดนิรภัย หรือจะปล่อยให้ถุงลม ทำอันตรายถึงชีวิตคุณ !!!


ข่าวแนะนำ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา ยอมรับ เรียนรู้เพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy