ก่อนวางตลาดเมื่อเดือน กรกฎาคมปีที่ผ่านมา โช้คอัพโมโนทูป Z–Series ได้รับการทดสอบทั้งด้านความทนทาน (Endurance Test) และทดสอบค่าสมรรถนะความหน่วงของโช้คอัพและสปริง (Damping Force) พร้อมกับขับทดสอบบนสภาพถนนจริงมากว่า 1 ปี รวมถึงการปรับจูนวาล์วและลูกสูบภายในให้เหมาะกับลักษณะของรถแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ และการทำ weight distribution หรือการปรับสมดุลย์รถทั้ง 4 ด้าน ซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกับการเซ็ตช่วงล่างทีมรถแข่งระดับโลก ผู้ใช้งานจึงมั่นใจในประสิทธิภาพการทำงานของโช้คอัพ Z–Series สมกับสมรรถถนะ นิ่ง นุ่ม หนึบ ไม่กระด้าง
การทดสอบที่สำคัญอีกจุดคือการจับคู่กับสปริงที่เหมาะสม ซึ่ง YSS มีสายการผลิตสปริงโดยเฉพาะจึงสามารถออกแบบและปรับแต่งสปริงให้มีค่าสมรรถนะได้หลากหลายเพื่อนำมาทดสอบกับรถแต่ละรุ่นโดยเฉพาะ จนได้ค่าตัวเลขที่ดีที่สุดสำหรับรถรุ่นนั้นๆ การขับรถบนโช้คอัพ Z–series ครบชุด จึงได้ความรู้สึก Complete Feeling ตามที่ลูกค้าหลายคนให้คำนิยามไว้
ทำไมถึงแนะนำให้ติดตั้ง Z-series คู่กับสปริง YSS เท่านั้น
- ระยะเส้นผ่าศูนย์กลาง (ความกว้างภายใน) ของขดสปริงแต่ละรอบต้องสอดคล้องกับขนาดของลูกสูบโช้คอัพ Z–Series สปริงแบบอื่นที่มีขนาดความกว้างภายในแตกต่างไป จะทำให้ความรู้สึกในการขับหรือการนั่งขาดๆเกินๆ การปรับจูนจะลงตัวยาก
- ค่า K หรือค่าความเเข็งของสปริง มีผลต่อการขับและขีดความสามารถในการรับน้ำหนักของรถ โดยรถแต่ละรุ่นจะมีการกระจายน้ำหนักแตกต่างกัน บางรุ่นค่าเดิมจากโรงงาน น้ำหนักตัวรถจะกระจายไปอยู่ด้านหลังมากกว่า ทำให้เวลาเติมคันเร่ง คนขับจะรู้สึกหงายหลัง หรือบางรุ่นสปริงจะมีความนุ่มมากเกินทำให้จังหวะเข้าโค้งเกิดอาการเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง สปริง YSS จึงมาช่วยปรับให้การกระจายน้ำหนักของรถทั้ง 4 มุมสมดุลย์กัน พร้อมกับมีระยะยืดและยุบที่สัมพันธ์กับโช้คอัพ Z–series
- ความยาวของสปริงต้องสอดคล้องกับระยะสโตรค ระยะยืดและยุบ (compression and rebound) ของโช้คอัพ เพื่อให้วาล์วและลูกสูบภายในโช้คอัพมีทำงานได้เต็ม 100% ทั้งในช่วงขับความเร็วต่ำจะให้ความรู้สึกนุ่ม และในช่วงความเร็วสูงรถจะหนึบเกาะพื้นถนนมากขึ้น
จุดสำคัญสำหรับผู้ใช้รถที่กำลังเลือกโช้คอัพอีกเรื่องคือ ประเภทของโช้คอัพ ควรเป็นโช้คอัพรุ่นเดียวกันและมีรูปแบบหรือฟังชั่นการปรับระดับความนุ่ม หนึบ ในทิศทางที่เท่ากัน และผู้ขับสามารถเลือกปรับตั้งได้ละเอียดให้เหมาะกับการใช้งานรถ
การจับคู่โช้คอัพคนละประเภทหรือโช้คอัพที่จำนวนคลิกการปรับไม่เท่ากัน เช่นคู่หน้าปรับได้ 16 ระดับ คู่หลังปรับได้ 8 ระดับ นอกจากค่าสมรรถนะที่ได้จะไม่สมดุลย์กันแล้ว ผู้ใช้รถหรือแม้กระทั่งช่างจากร้านติดตั้ง ยังหาค่าสมรรถนะที่ลงตัวไม่เจอ สุดท้ายกลายเป็นระบุต้นสายปลายเหตุไม่ได้ว่าเป็นการปรับจูนหรือเป็นเพราะตัวโช้คเอง