ตามที่ ครม. มีการสรุป “มาตรการสนับสนุนรถ EV” ที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใช้หันมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ากันมากขึ้น โดยจะมีการมอบเงินสนับสนุนตามขนาดของแบตเตอรี่ พร้อมกับการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสูงสุด 40% รวมถึงปรับอัตราภาษีสรรพสามิต จากเดิมที่เรียกเก็บ 8% ลดเหลือเพียง 2% สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยมีเงื่อนไขว่า ค่ายรถยนต์ที่นำรถยนต์เข้ามาขายนั้น จะต้องผลิตและประกอบรถยนต์ภายในประเทศภายในเงื่อนไขที่กำหนด ตามข้อมูลในตารางด้านล่าง
10 รถ EV สุดว้าว ! ในงาน MOTOR SHOW 2022 มองหารถไฟฟ้าที่ใช่…กางลิสต์ดูได้เลย
มาตรการสนันสนุนรถ EV สำหรับปี พศ.2565 – 2568
– รถยนต์ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท
*ค่ายรถยนต์ต้องมีแพลนจะผลิตรถ BEV รุ่นใดก็ได้ในประเทศ (นำเข้า 2565-2566 ผลิตชดเชยจำนวน 1 เท่า ภายในปี 2567 หรือชดเชยจำนวน 1.5 เท่า หากขยายเวลาถึงปี 2568), มอเตอร์ไซค์ทั้งนำเข้า และประกอบในประเทศ ราคาไม่เกิน 150,000 บาท
– รถยนต์ราคา 2 – 7 ล้านบาท
*ค่ายรถยนต์จะต้องมีแพลนการผลิตรถรุ่นเดียวกันในประเทศ (นำเข้า 2565-2566 ผลิตชดเชยจำนวน 1 เท่า ภายในปี 2567 หรือชดเชยจำนวน 1.5 เท่า หากขยายถึงปี 2568)
ซึ่งจาก มาตรการสนับสนุนรถ EV ดังกล่าว ค่ายรถยนต์ชั้นนำ ที่มีการทำตลาดรถยนต์ EV ในระดับราคาบวกลบ 1 ล้านบาท อยู่ก่อนหน้านี้ นำโดยฝั่ง Great Wall Motor และ MG (รวมถึงทางฝั่ง Arun + ที่ลงนามในข้อตกลงเป็นที่เรียบร้อย แต่ยังไม่มีการประกาศราคาออกมา) ต่างลงนามตอบรับนโยบายดังกล่าว พร้อมมีการปรับลดราคารถยนต์ในค่ายก่อนที่งาน Motor Show 2022 จะเริ่มขึ้น เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้กับผู้บริโภค ตามรายละเอียดในตารางด้านล่าง
เทียบ MG ZS EV รุ่น D และ X ราคาส่วนต่าง 74,000 บาท ได้อะไรเพิ่มมาบ้าง ?
ราคารถ EV ที่เข้าเงื่อนไขการสนับสนุน ณ ปัจจุบัน
*เป็นตัวอย่างในการคำนวนแบบประมาณการ ซึ่งยังไม่รวมภาษีมหาดไทยและภาษีมูลค่าเพิ่ม
มาตรการสนับสนุนรถ EV…ประโยชน์ตกกับผู้ใช้ หรือ แค่โอกาสเพิ่มกำไรของค่ายรถยนต์ ?
เมื่อเห็นความต่างจากส่วนลดดังกล่าว ทำให้ผู้บริโภคหลายคนเกิดความสงสัยว่า อันที่จริงแล้ว…ส่วนลดจากมาตรการสนับสนุนรถ EV ควรจะเป็นเท่าไหร่ งานนี้ #ทีมขับซ่า ขอยกตัวอย่างการคำนวณเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ เปรียบเทียบจากรถ EV นำเข้าจากประเทศจีน โดยมีต้นทุนที่ประกอบไปด้วยราคารถ + ค่าขนส่ง และค่าประกันภัย เป็นเงิน 1,000,000 บาท โดยคำนวนเป็นราคาขายได้ดังนี้
ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถ EV นำเข้า (สำหรับแบรนด์ที่เข้าเงื่อนไข ณ ปัจจุบัน)
เทียบส่วนต่างราคารถ EV จากส่วนต่างภาษีสรรพสามิต
เมื่อพิจารณาจากตารางจะเห็นได้ชัดว่า…นอกจากเงินสนับสนุนที่ได้มาแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่มีการปรับลดลงไปอย่างเห็นน้ำเห็นเนื้อเลยก็คือ ภาษีสรรพสามิต ซึ่งจากเดิมที่คิดในอัตราส่วน 8% จะอยู่ที่ 87,719 บาท ซึ่งเมื่อมาคำนวนเป็นราคาต้นทุน โดยที่ยังไม่บวกค่าการตลาด รถคันนี้จะมีราคาอยู่ที่ 1,173,244 บาท แต่เมื่อมีการปรับลดภาษีเหลือ 2% นั่นเท่ากับว่า ค่าภาษีสรรพสามิต จะลดลงเหลือเพียง 20,450 บาท และทำให้รถ EV คันเดียวกัน มีต้นทุนเบ็ดเสร็จแบบไม่รวมค่าการตลาดอยู่ที่ 1,094,070 บาท หักลบกันระหว่างการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิต 2 อัตรา…เกิดเป็นส่วนต่างต้นทุนที่มากถึง 79,174 บาท
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว…รถ EV ที่เข้าเงื่อนไขการสนับสนุน นอกจากจะได้ส่วนลด 150,000 บาท แล้ว ยังจะเสียภาษีสรรพสามิต (รวมถึงภาษีมหาดไทยและภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้จากการคำนวน) ในอัตราที่ต่ำลง ซึ่งส่งผลต่อราคาต้นทุนที่ต่ำลงอีก 79,174 บาท ตามไปด้วย นั่นจึงหมายความว่า รถ EV ราคาเริ่มต้นจากการนำเข้าที่ 1 ล้านบาท คันนี้ ควรจะได้ส่วนลดจากมาตรการสนับสนุนทั้งสิ้นเป็นจำนวน 150,000 + 79,174 หรือประมาณ 229,174 บาท เป็นอย่างน้อย…จึงเป็นที่มาของข้อสงสัยที่ว่า ส่วนลดจากมาตรการสนับสนุนรถ EV เป็นไปตามเงื่อนไขที่มีการตกลงไว้หรือไม่ ? หรือเป็นเพียงการใช้ช่องว่างตรงนี้ เพื่อฉวยโอกาสแสวงหากำไรเพิ่มเติมจากสิ่งที่ผู้บริโภคควรจะได้รับ ? ทั้งนี้ทั้งนั้น…เป็นหน้าที่ของทางฝั่งผู้ผลิต ที่จะต้องออกมาชี้แจงข้อสงสัยที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดยืนและความจริงใจในการทำธุรกิจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้มากขึ้นไปอีกระดับ